4 ประกันต้องมี เมื่อซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในงาน MOTOR SHOW

ประกันสำหรับรถยนต์

 

รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพราะช่วยลดการใช้พลังงานที่ผลิตมลพิษและยังประหยัดกว่ารถยนต์ที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงอีกด้วย แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในปัจจุบันจะผ่านการทดสอบความปลอดภัยหลายขั้นตอน แต่ก็ยังมีข่าวอุบัติเหตุและเหตุขัดข้องเกี่ยวกับรถไฟฟ้าออกมาให้เห็นอยู่เสมอ จึงทำให้หลาย ๆ คนกังวลใจ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพาคุณไปพบกับ 4 ประกันที่ควรมีเมื่อคุณตัดสินใจที่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดความกังวล และเสริมความมั่นใจในการขับขี่

 

ประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.

คือ การทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยเจ้าของรถทุกชนิดและประเภท ซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องทำประกันภัยภาคบังคับทุกคน หากเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ฝ่าฝืน ไม่ทำประกันภัยภาคบังคับตามที่กฏหมายกำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บา

 

ความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ

ประกันภัยภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต โดยคุ้มครองทั้งบุคคลในรถและนอกรถ เช่น ผู้ขับ ผู้โดยสาร คนเดินถนน เป็นต้น แต่ประกันภัยภาคบังคับจะไม่ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงตัวรถด้วยนั่นเอง

สามารถแบ่งความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น 

โดยผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาท จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยค่าเสียหายเบื้องต้น แบ่งออกเป็น

  • ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าชดเชย กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ รายละ 35,000 บาท
  • ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต รายละไม่เกิน 35,000 บาท (จ่ายให้แก่ทายาท)
  • กรณีได้รับบาดเจ็บ แต่ต่อมาเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ค่าชดเชย ค่าปลงศพ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท

หากไม่สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากใครได้เลย ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ 

  • รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ได้ทำประกันภัย และเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวน
  • รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายถูกขโมยมา และได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว
  • ถูกชนแล้วหนี หรือไม่ทราบว่ารถคันใดเฉี่ยวชน
  • บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบตามจำนวน
  • ถูกชนจากรถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีการทำประกันภัย เช่น รถสำนักพระราชวัง รถส่วนราชการ และรถนั้นไม่มีประกันภัย

2. ส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น

  • ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต รายละ 500,000 บาท
  • ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร รายละ 200,000 – 500,000 บาท (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
  • ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 80,000 บาท
  • ค่าชดเชยรายวัน กรณีต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ 200 บาทตามความเป็นจริง สูงสุดไม่เกิน 20 โดยถ้าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

 

ตัวอย่างชนิดของรถที่ต้องทำประกันภัยภาคบังคับ

  • รถยนต์
  • รถจักรยานยนต์
  • รถสามล้อเครื่อง
  • รถยนต์โดยสาร
  • รถบรรทุก
  • หัวรถลากจูง
  • รถพ่วง
  • รถบดถนน
  • รถอีแต๋น

 

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

คือ การประกันภัยที่เจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ ทำเองด้วยความสมัครใจ โดยที่กฎหมายไม่ได้บังคับ โดยมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอกเพิ่มเติม

 

ความคุ้มครองของประกันภัยภาคสมัครใจ

ปัจจุบันการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน มีความคุ้มครองที่แตกต่างกันดังนี้

  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกทั้งชีวิตและทรัพย์สิน, คุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้ และคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2 คล้ายกับประเภทที่ 1 แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3 คุ้มครองเฉพาะความรับผิดต่อบุคคลภายนอกทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 4 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น
  • การประกันภัยรถยนต์ ประเภท 5 หรือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองภัยเฉพาะ แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองคล้ายแบบประกันภัย ประเภท 2 และแบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองคล้ายแบบประกันภัย ประเภท 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี

 

ประกันสินเชื่อรถยนต์ (MRTA)

หรือ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับรถยนต์ คือ กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงตามงวดการผ่อนชำระ ซึ่งจะสอดคล้องกับจำนวนหนี้ที่เหลืออยู่ 

ประกันสินเชื่อรถยนต์มีระยะเวลาเอาประกันภัยคร่าว ๆ ตั้งแต่ 1- 8 ปี และชำระเบี้ยประกันภัยเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

 

ความคุ้มครองของประกันสินเชื่อรถยนต์

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. กรณีเสียชีวิต

บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินผลประโยชน์เท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยของเดือนที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในตารางแสดงจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงให้แก่ผู้รับประโยชน์หลัก ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่ได้ทำสินเชื่อรถยนต์ไว้นั่นเอง โดยจำนวนเงินดังกล่าวจะไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันภัยค้างชำระอยู่กับผู้รับประโยชน์หลัก ณ เวลานั้น หากมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเหลืออยู่ บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์รองตามที่ระบุไว้ในสัญญา

ตัวอย่าง

นาง ก. อายุ 38 ปี ขอทำประกันสินเชื่อรถยนต์กับ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต โดยเลือกจำนวนเอาประกันภัย 970,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินกู้เพื่อผ่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยเลือกให้มีความคุ้มครองนาน 8 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 5,432 บาท

หากนาง ก. เสียชีวิตในเดือนมกราคมของปีกรมธรรม์ที่ 6 (เดือนที่ 61) จะได้รับผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตจำนวน 354,050 บาท โดยผู้รับผลประโยชน์จะเป็นสถาบันการเงินที่นางก. ขอกู้สินเชื่อ ซึ่งหากจำนวนหนี้คงเหลือน้อยกว่า 354,050 บาท บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ที่เหลือให้กับทายาท

สนใจทำประกันสินเชื่อรถยนต์ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิตคลิก

 

  • สร้างหลักประกันให้คุณและคนข้างหลังช่วยลดภาระหนี้สิน หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  • คุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
  • ซื้อง่ายผ่านช่องทาง Online

2. กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยของเดือนที่ผู้เอาประกันภัยเริ่มต้นการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในตารางแสดงจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลง

 

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ Personal Accident (PA) คือ ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองในกรณีบาดเจ็บทางร่างกาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต อันเนื่องมากจากอุบัติเหตุเท่านั้น โดยบริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล หรือจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

 

ความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อ.บ.1)

คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุและทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บที่ได้รับ ทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรักษาตัวติดต่อกันในฐานะผู้ป่วยในในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม โดยอาจจ่ายค่าทดแทนแตกต่างกัน เช่น จ่ายค่าทดแทน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุและกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงไม่น้อยกว่า 12 เดือนติดต่อกัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหต แต่จ่ายค่าทดแทน 60% หากผู้เอาประกันภัยสูญเสียสายตาหนึ่งข้าง เป็นต้น

ประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบ อ.บ.1 จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต คุ้มครองเพียบ เช่น 

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาท/ครั้ง 
  • สบายใจเมื่อขับรถทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม คุ้มครองอุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก
  • จ่ายเงินชดเชยรายได้เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล สูงสุดวันละ 1,000 บาท*

ทำประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่มคลิก


2. คุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า และสายตา นิ้ว หูหนวกและเป็นใบ้ หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ทุพพลภาพถาวรบางส่วน (อ.บ.2)

คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุ และทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ได้รับ ทำให้ผู้ได้รับความคุ้มครองต้องรักษาตัวติดต่อกัน ในฐานะผู้ป่วยในในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม โดยอาจจ่ายค่าทดแทนแตกต่างกัน เช่น จ่ายค่าทดแทน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยสูญเสียเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้าและสายตาหนึ่งข้าง แต่จ่ายค่าทดแทน 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยสูญเสียนิ้วหัวแม่มือ (หนึ่งข้อ)

แม้ว่าประกันภัยที่มีประโยชน์ต่อเจ้าของรถยนต์นั้น จะมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่กฏหมายบังคับให้ทำเพียงแค่พ.ร.บ. เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว อาจพิจารณาทำประกันให้ครบทั้ง 4 ประเภท โดยเลือกแผนที่เหมาะกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

 

ข้อความทราบ : 

*เมื่อขอทำสัญญาประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม ความคุ้มครองแผน 13 - 14 สำหรับเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลห้องทั่วไป (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน)

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

อ้างอิง : 

https://www.tgia.org/insurance/motor
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ พ.ร.บ. โดย สำนักงาน คปภ.
เงื่อนไข กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และเอกสารแนบท้าย
https://www.tgia.org/insurance/accident

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

OCEAN LIFE ไทยสมุทร รับรางวัลการสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืน
ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ