5 โรคประจำตัวที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด

โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด

 

ด้วยสิ่งแวดล้อม สภาพสังคม และวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ทำให้คนไทยมากกว่าล้านคน มีโอกาสเป็นโรคประจำตัวที่ต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการรักษา บทความนี้ จะนำเสนอ 5 โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2566 มาดูกันเลยว่ามีโรคอะไรบ้าง พร้อมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรค เพื่อให้ทุกท่านหลีกเลี่ยง และป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

 

1. โรคอ้วน

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคอ้วน : 2,257,671 คน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่า BMI  ตั้งแต่ 25 โดยสามารถคำนวณค่า BMI ได้ดังนี้

น้ำหนักหน่วยเป็นกิโลกรัม / (ส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร)

เช่น นางสาว A น้ำหนัก 86 กิโลกรัม และสูง 156 เซนติเมตร มีค่า BMI 35.34 ซึ่งมากกว่า 25 ดังนั้น จึงถือว่านางสาว A เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนเกิดจากการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงจนเกินความต้องการเป็นประจำ และไม่ถูกหลักโภชนาการ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไวน์ และเบียร์ที่ดูดซึมอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้ อีกทั้งกรรมพันธุ์ โรคต่อมไร้ท่อ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น ยังส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้ด้วย

นอกจากนั้น ผู้หญิงยังมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายมีกล้ามเนื้อมากกว่า ซึ่งกล้ามเนื้อจะเผาผลาญพลังงานได้ดี ดังนั้น โดยรวมแล้วผู้ชายจึงเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าผู้หญิง จึงอ้วนได้ยากกว่า

 

2. โรคเบาหวาน

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคเบาหวาน : 1,181,575 คน

โรคเบาหวาน เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผลิตจากตับอ่อน ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยโรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุการเกิดของโรค ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ 6 โรคคนแก่ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น

 

3. โรคไต

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคไต : 1,098,942 คน

โรคไต เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เกาต์ นิ่วในไต เป็นต้น รวมถึงการใช้ยาผิดประเภท หรือเกินขนาด ที่จะทำให้การทำงานของไตลดลง นอกจากนั้น พฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคไตได้เช่นกัน เช่น รับประทานอาหารรสจัดและอาหารที่มีโซเดียมสูง ดื่มน้ำน้อยเกินไป มีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตแล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 และระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าร้อยละ 7 ควบคุมการทานอาหารกลุ่มโปรตีนและอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงการใช้ยาหม้อ ยาชุด โดยไม่ปรึกษาแพทย์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

4. โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง : 730,517 คน

โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืด สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่มักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง” เกิดจากการที่เราหายใจเอามลภาวะที่เป็นพิษ ซึ่งอาจอยู่ในรูปก๊าซหรือฝุ่นเข้าไป เช่น ควันบุหรี่ ควันพิษ และสารเคมี ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เป็นต้น ทำให้มีการระคายเคือง เกิดการอักเสบ และมีการทำลายระบบทางเดินหายใจคือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแล้ว แพทย์อาจให้ยา เพื่อบรรเทาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิต นอกจากนั้นควรออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด งดสูบบุหรี่ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ส่วนโรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนปกติ ส่งผลให้ไอ และหายใจไม่สะดวก

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดหอบหืดแล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือขจัดสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือกระตุ้นอาการหอบหืด อาทิ ไรฝุ่น แมลงสาบ สปอร์เชื้อรา เกสร วัชพืช น้ำหอม สารเคมี ควันจากท่อไอเสีย อากาศที่ร้อนจัด/เย็นจัด เป็นต้น นอกจากนั้น แพทย์อาจยารักษาชนิดสูดร่วมกับยาขยายหลอดลม และถ้าโรคหอบหืดมีอาการรุนแรงและเป็นบ่อย ควรใช้เครื่องวัดการทำงานของปอดอยู่เป็นประจำ เพื่อป้องกันการรักษาที่อาจล่าช้า

 

5. โรคมะเร็งทุกชนิด

จำนวนคนไทยที่เป็นโรคมะเร็งทุกชนิด : 306,995 คน

มีปัจจัยภายนอกมากมายที่อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารก่อมะเร็ง อย่างสารที่เกิดจากการปิ้งย่าง การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ 7 โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง ?

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยแต่ละระยะของโรคมะเร็งจะได้รับการรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 แนวทางด้วยกัน คือ 

  • การรักษาด้วยการศัลยกรรม
  • การรักษาด้วยรังสีรักษา
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยยามุ่งเป้า
  • การรักษามะเร็งเฉพาะจุด
  • การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
  • การรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ทั้ง 5 โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องเสียทั้งเวลา และเงินทองในการรักษา หากไม่มีประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรง ก็อาจจะสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วยได้ ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร ขอแนะนำประกันทั้ง 2 ประเภท ดังนี้

 

ประกันสุขภาพโอชิ สมอล เฮลท์ คลิก

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) แบบเหมาจ่ายตามจริง
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุดครั้งละ 1,000 บาท* ครอบคลุมค่าล้างไต เคมีบำบัด รังสีบำบัด สูงสุด 50,000 บาทต่อปี*
  • ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต 50,000 บาท


ประกันโรคร้ายแรง โอชิ ซีไอ ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า คลิก

  • คุ้มครอง 7 โรคร้ายแรง
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด 500,000 บาท
  • หากไม่เคลมตลอด 3 ปี รับเงินคืน 10% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระสะสม ในวันครบกำหนดสัญญา

 

ข้อควรทราบ : 

* กรณีเลือกทำโครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) แผน 3

  • โครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/99 แนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ สมอล เฮลท์ (Small Health) และบันทึกสลักหลังค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
  • โอชิ ซีไอ ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า (Ochi CI Top 3 Extra) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโรคร้าย ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร 
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

อ้างอิง : 

กระทรวงสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลวิชัยเวช หนองแขม
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลเพชรเวช
สถาบันทรวงอก กระทรวงสาธารณสุข
Rama Channel มหาวิทยาลัยมหิดล

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ