6 โรคคนแก่ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

6 โรคคนแก่ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

 

ยิ่งแก่ตัวขึ้น ร่างกายของคนเรายิ่งเสื่อมถอยลงทุกวัน ทำให้มีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะ 6 โรคฮิตด้านล่าง ที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่าโรคคนแก่ เพราะมักพบเจอในผู้สูงอายุนั่นเอง

แม้ว่าเราจะไม่สามารถหยุดความชราได้ และอาจต้องพบเจอกับโรคคนแก่เหล่านี้สักวันหนึ่ง แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมถอยได้บ้าง ด้วยการสังเกตตัวเองว่ามีอาการของโรคต่าง ๆ หรือไม่ พร้อมดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดของโรค โดยสามารถอ่านรายละเอียดดังกล่าวได้ที่บทความนี้

 

“ดูแลสุขภาพร่างกายแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพทางการเงินให้แข็งแรงด้วยประกันผู้สูงอายุ โอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 คลิก

 

1. โรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุ เกิดจากภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือภาวะหลอดเลือดตีบจนเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง หรืออาจเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ นอกจากนั้นอาจเกิดจากหลอดเลือดโป่งพองจนแตกออก สำหรับในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากผนังหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นไปด้วยก็ได้

อาการ ภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง หรือมีการพูดไม่ชัด และอาจเกิดในระยะสั้น ๆ

การป้องกัน

  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว แม้ว่าอาการจะหายไปเองก็ตาม
  • ไม่เครียด
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน น้ำตาลในเลือด และน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล ทานให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

2. โรคหัวใจขาดเลือด

สาเหตุ เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง หรืออุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากไขมันเกาะภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ หากเป็นระยะเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และอาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้

อาการ อาการและสัญญาณเตือนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ จุกแน่นหน้าอก มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปถึงกราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นทันทีแบบเฉียบพลัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจขาดเลือดมักไม่เคยแสดงอาการมาก่อน

การป้องกัน

  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันประเภทอิ่มตัว เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ อาหารฟาสต์ฟูด เนยและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน
  • รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด

 

3. โรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่า 90 - 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร โดยทางการแพทย์นั้นได้อธิบายโรคความดันโลหิตสูงนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น เป็นต้น

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ จะมีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท

อาการ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ เป็นต้น

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็มทุกชนิด
  • เน้นทานผักและผลไม้ที่ให้สารอาหารโพแทสเซียม เช่น ฟักทอง บรอกโคลี ผักโขม มะเขือเทศ มะละกอ มะม่วง กล้วย ฝรั่ง เป็นต้น
  • ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำที่ให้แคลเซียม ธัญพืช และถั่วเปลือกแข็งที่ให้แม็กนีเซียม และเส้นใยอาหาร เช่น ถั่วแดง เต้าหู้ งา เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัว โดยเส้นรอบเอว ไม่ควรเกินส่วนสูงของตัวเองหารด้วยสอง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30-60 นาที
  • งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
  • ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี หากอายุเลย 35 ควรตรวจทุก 1 ปี
  • ผู้มีความดันโลหิตระหว่าง 120/80 ถึง 139/89 มม. ปรอท จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง

 

4. โรคอัลไซเมอร์

สาเหตุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ที่ชัดเจน

อาการ ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ หลงลืมสิ่งของ ถามซ้ำ ๆ เป็นต้น และจะเกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความผิดปกติทางจิต เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ ประสาทหลอน เป็นต้น

การป้องกัน

  • ฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ หรือฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ
  • พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ เป็นต้น
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง การพลัดตกหกล้ม
  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี

 

5. โรคเบาหวาน

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานมีอยู่ 4 สาเหตุ ซึ่งถูกแบ่งตามประเภทของโรคเบาหวาน ดังนี้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เกิดจากโรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

อาการ

  • หิวน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก
  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • ตาพร่า ตามัว
  • มือและปลายเท้าชา

การป้องกัน

  • ลดปริมาณของหวานหรืออาหารจำพวกแป้งและคาร์โบไฮเดรตต่าง ๆ ลง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน เบเกอรี่ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

 

6. โรคข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุ เกิดจากการเสื่อมสภาพ ของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว กรรมพันธุ์ หรืออาจเคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

อาการ เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได นั่งพับเข่า หรือเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานานแล้วเริ่มขยับข้อ จะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบาก

การป้องกัน

  • ปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ หรือการยกหรือแบกของหนัก ๆ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ในระยะที่มีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง หรือเล่นเทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำในช่วงนี้ ได้แก่ ว่ายน้ำ เดิน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การป้องกันโรคคนแก่ต่าง ๆ นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม และที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพ ที่ควรทำเป็นประจำทุกปี

 

ข้อควรทราบ แบบประกัน โอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 :

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

ข้อมูลจาก :

โรงพยาบาลรามาธิบดี
Siriraj Stroke Center
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลราชวิถี
โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลศิครินทร์
สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมป์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ