หลาย ๆ คนที่เริ่มเข้าสู่วัย 40+ เริ่มมีรายได้ที่มั่นคง มีประกันสะสมทรัพย์เพื่อเก็บออมเงิน และลงทุนในกองทุน SSF กันบ้างแล้ว อาจเริ่มมองหาความมั่นคงสำหรับวัยเกษียณเพิ่มเติม โดยเฉพาะประกันบำนาญ ที่ลดหย่อนภาษีได้ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับวัย 40+ ที่ยังมีรายได้ประจำ และยังต้องการลดหย่อนภาษี
วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรจึงอยากชวนมาเรียนรู้เรื่องหลักเกณฑ์ในการลดหย่อนภาษีสำหรับค่าเบี้ยประกันบำนาญ พร้อมแนะนำประกันบำนาญที่ลดหย่อนภาษีได้กันครับ
หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันบำนาญ มีอะไรบ้าง
สามารถหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันบำนาญในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
กรมธรรม์ประกันบำนาญ ต้องมีลักษณะ ดังนี้
- มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
- มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าว จะจ่ายเท่ากันทุกงวด หรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้
- มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
- กรณีเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับประกันบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือแบบบำนาญ และแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี ให้ยกเว้นตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท และให้ยกเว้นเพิ่มขึ้นอีก สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
5.1 ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อได้รวมกับที่ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน5.2 กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้น ตามข้อ 5.1 ของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้
ในกรณีสามีหรือภริยา ซึ่งได้อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี ให้สามีหรือภริยา ซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ มีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท -
มีหลักฐานจากผู้รับประกันภัย ซึ่งได้รับรองว่า เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับยกเว้น
-
กรณีผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิยกเว้น ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 5. ข้างต้นแล้ว ต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ผู้มีเงินได้ดังกล่าว หมดสิทธิได้รับยกเว้น และต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนดังกล่าว นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม
ทำประกันบำนาญที่ไหนดี ที่ลดหย่อนภาษีได้
OCEAN LIFE ไทยสมุทร มีแบบประกันบำนาญ ที่ลดหย่อนภาษีได้ให้เลือกหลายรูปแบบ ในบทความนี้ของเสนอประกันบำนาญที่สามารถสมัครผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ๆ คือประกันบำนาญรีไทร์ เรดดี้ ซึ่งมี 3 แบบด้วยกัน
แบบประกันบำนาญ | อายุรับประกันภัย | จำนวนปีที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิต | จำนวนเงินบำนาญสูงสุด ที่จะได้รับ |
ค่าเบี้ยประกันชีวิต |
---|---|---|---|---|
รีไทร์ เรดดี้ 85/5 | 20-55 ปี | 5 ปี | 390% | 36,000 บาท |
รีไทร์ เรดดี้ 85/55 | 20-50 ปี | จนถึงอายุ 55 ปี | 465% | 14,230 บาท |
รีไทร์ เรดดี้ 85/60 | 20-55 ปี | จนถึงอายุ 60 ปี | 390% | 9,180 บาท |
ทำประกันบำนาญ รีไทร์ เรดดี้ ทั้ง 3 แบบ
ข้อควรทราบ :
- % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง : https://www.rd.go.th/60058.html