หลาย ๆ คนที่เป็นพนักงานประจำและได้รับเงินเดือนพร้อมสวัสดิการต่าง ๆ อาจรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องทำประกันชดเชยรายได้ เพราะแม้จะลาป่วยเนื่องจากต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ก็ยังได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน แต่สำหรับผู้ที่ทำอาชีพอื่น ๆ ประกันชดเชยรายได้อาจเป็นสิ่งจำเป็น
บทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับประกันชดเชยรายได้ ว่าคืออะไร และเหมาะกับใครบ้าง
ประกันชดเชยรายได้ คืออะไร
ประกันชดเชยรายได้ คือ แบบประกันที่มีผลประโยชน์และความคุ้มครองด้านค่าชดเชยรายได้ต่อวัน จึงมักจะถูกเรียกว่า ประกันชดเชยรายได้รายวัน หรือประกันค่าชดเชยรายวัน ซึ่งบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายได้ให้ เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล โดยค่าชดเชยรายได้ต่อวันจะแตกต่างกันตามผลประโยชน์ความคุ้มครองของแต่ละแบบประกัน
ประกันชดเชยรายได้นอกจากจะมีประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองชดเชยรายได้รายวันอยู่ในตัวด้วยแล้ว ยังมีแบบประกันที่มีเฉพาะความคุ้มครองชดเชยรายได้ ในลักษณะสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้รายวัน ที่ขอทำแนบกับกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักได้ เช่น ประกันเพื่อนคู่ชีวิต B450 (20/15) จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต สามารถทำสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายได้รายวัน (DAB2) ได้ เป็นต้น
ประกันชดเชยรายได้ เหมาะกับใคร
จริง ๆ แล้ว ทุกคนสามารถทำประกันชดเชยรายได้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่อาจขาดรายได้เมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
- เจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่ต้องรับออเดอร์สินค้าเองทุกวัน หากป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล และไม่สามารถรับออเดอร์สินค้าได้ ก็อาจจะต้องเสียรายได้หลายวัน
- ผู้ทำอาชีพค้าขายหรือบริการที่ต้องดูแลร้านค้าเอง เมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาจทำให้ต้องปิดร้าน หรือเสียเงินจ้างผู้อื่นมาดูแลร้านแทน
- ผู้ทำอาชีพเซลล์ ที่ต้องทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมาย หากต้องลาหยุดเพราะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็อาจทำยอดขายได้น้อย ส่งผลให้รายได้ในเดือนที่ลาหยุดน้อยลงตามไปด้วย
- ฟรีแลนซ์ที่รับค่าจ้างเป็นรายวัน รายชั่วโมง หรือรายชิ้น เช่น ช่างภาพฟรีแลนซ์ประจำกองถ่ายโฆษณา แอดมินตอบแชทลูกค้าทางช่องทางออนไลน์ เป็นต้น
- ลูกจ้างรายวัน เช่น พนักงานเสิร์ฟ พนักงานขายหน้าร้าน เป็นต้น
แนะนำแบบประกันชดเชยรายได้
1. ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม (แผนความคุ้มครองจัดเต็ม) ประกันอุบัติเหตุพร้อมความคุ้มครองชดเชยรายได้ โดยมีผลประโยชน์และเงื่อนไข ดังนี้
- ค่าชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล “ห้องทั่วไป” ของโรงพยาบาล สูงสุด 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 365 วัน
- ค่าชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล “ห้องผู้ป่วยหนัก ไอ.ซี.ยู” สูงสุด 2,000 บาท ไม่เกิน 7 วัน
2. ประกันสุขภาพ
โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า ประกันสุขภาพพร้อมชดเชยรายได้ เฉพาะผู้ที่เลือกทำแบบไม่มีความรับผิดส่วนแรก (D0) เท่านั้น โดยมีผลประโยชน์ค่าชดเชยรายได้และเงื่อนไข ดังนี้
- ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน2,000 บาทต่อวัน กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล ซึ่งบริษัทจะให้ความคุ้มครอง แต่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เรียกร้องผลประโยชน์กรณีเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล จากสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน สูงสุดไม่เกิน 10 วันต่อรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย
3. สัญญาเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์หลัก เช่น ประกันลดหย่อนภาษี ประกันออมทรัพย์ ประกันคุ้มครองตลอดชีพ ประกันบำนาญ เป็นต้น สามารถขอทำสัญญาเพิ่มเติมที่มีค่าชดเชยรายได้ เพื่อเพิ่มเติมความคุ้มครองได้
สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายได้รายวัน (DAB2) มีผลประโยชน์ค่าชดเชยรายได้และเงื่อนไข ดังนี้
ความคุ้มครอง | ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายได้รายวันของแต่ละแผน | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แผน 500 |
แผน 1,000 |
แผน 1,500 |
แผน 2,000 |
แผน 2,500 |
แผน 3,000 |
แผน 3,500 |
แผน 4,000 |
แผน 4,500 |
|
กรณีเข้าพักรักษาตัวในห้องทั่วไป | 500 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | 4,500 |
กรณีเข้าพักรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) กรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลในต่างประเทศ |
1,000 | 2,000 | 3,000 | 4,000 | 5,000 | 6,000 | 7,000 | 8,000 | 9,000 |
จะเห็นได้ว่า ประกันชดเชยรายได้มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทุกคนสามารถเลือกให้เหมาะกับความต้องการของตัวเองได้
สนใจประกันชดเชยรายได้ โทร. 0 2207 8844
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมสําหรับปีต่ออายุอาจเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของผู้เอาประกันภัยในปีนั้น ๆ และ/หรือข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัท
- สัญญาเพิ่มเติมมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาได้ตามเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมนั้น ๆ ทั้งนี้ การต่ออายุสัญญาเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยของบริษัท
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัท นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม