การรักษาพยาบาลในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การมีประกันสุขภาพเหมาจ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมและหลากหลาย ตั้งแต่ผู้ป่วยใน (IPD) ไปจนถึงการดูแลแบบประคับประคอง ในบทความนี้เราจะมาเน้นย้ำเกี่ยวกับประกันสุขภาพเหมาจ่ายกันอีกสักรอบว่าประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร และมีการครอบคลุมอะไรบ้าง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับราคา เพื่อช่วยให้ทุกท่านเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายได้อย่างเหมาะสม
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คืออะไร
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คือ การประกันภัยสุขภาพให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัยที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีการกำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลต่อรอบปีกรมธรรม์หรือต่อครั้ง ซึ่งมักจะมากพอที่จะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด และครอบคลุมทุกหมวดตามแต่ที่กรมธรรม์นั้น ๆ จะกำหนด
ความคุ้มครองของประกันสุขภาพเหมาจ่าย มีอะไรบ้าง
ความคุ้มครองของประกันสุขภาพเหมาจ่ายอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทและแบบประกันภัย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพที่จำเป็น ดังนี้
1. คุ้มครองผู้ป่วยใน (IPD)
- ค่าห้องพัก โดยส่วนใหญ่จะมีการคุ้มครองกรณีห้องผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งจะรวมถึงอาหารของผู้ป่วยด้วย โดยอาจมีบางแบบประกันคุ้มครองกรณีห้องผู้ป่วยวิกฤต
- ค่าบริการทางการแพทย์ โดยคุ้มครองการตรวจวินิจฉัย การบำบัดรักษา การบริการโลหิต การพยาบาล อาหารทางหลอดเลือด ยาและเวชภัณฑ์ทั่วไป รวมถึงสำหรับกลับบ้านด้วย
- ค่าประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์)
- ค่าผ่าตัดและหัตถการ โดยคุ้มครองค่าห้องผ่าตัด ยา สารอาหารทางหลอดเลือด เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การผ่าตัด รวมถึงค่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และผู้ช่วยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด
2. คุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD)
- ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก เช่น MRI CT Scan การล้างไต เคมีบำบัด และรังสีบำบัด เป็นต้น
- ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก เช่น การแพทย์แผนโบราณของจีน การบำบัดด้วยสมุนไพร เป็นต้น
- ค่ากายภาพบำบัด เช่น กายภาพบำบัดกล้ามเนื้ออักเสบ กายภาพบำบัดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น
3. คุ้มครองการรักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
- คุ้มครองการบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง
- คุ้มครองการป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินทั่วโลก
4. คุ้มครอง ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย
- ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการพักรักษาเป็นผู้ป่วยใน เช่น การแนะนำเพื่อปรับพฤติกรรม การใช้เครื่องมือช่วยลดความเจ็บปวด เป็นต้น
- ค่ารักษาพยาบาลแบบประคับประคอง เช่น การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการและผลข้างเคียง เป็นต้น
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ราคาเท่าไร ซื้อที่ไหนดี
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายอาจมีค่าเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่สูงกว่าประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา และแบบมีความรับผิดส่วนแรก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนดไว้ด้วย โดยสามารถดูตัวอย่างค่าเบี้ยประกันภัยของประกันสุขภาพทั้ง 3 ประเภทจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ได้ที่ตารางด้านล่างนี้ และสามารถคลิกที่ลิงก์เพื่อซื้อประกันได้เลย
ตัวอย่าง ผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 37 ปี
ประเภทของประกันสุขภาพ | ค่าเบี้ยประกันภัย |
---|---|
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย : โครงการโอชิ สมอล เฮลท์ แผน 1 | 6,419 บาท |
ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา: โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นชัวร์ เฮลท์ แผน 1 | 4,927 บาท |
ประกันคุ้มครองสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก : เฮลท์ พลัส (Health Plus) แผน 1 | 5,315 บาท |
สนใจทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย โอชิ สมอล เฮลท์
ข้อควรทราบ :
- โครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/99 แนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ สมอล เฮลท์ (Small Health) และบันทึกสลักหลังค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นชัวร์ เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ (H&S)
- เฮลท์ พลัส (Health Plus) เป็นชื่อทางการตลาดของ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ เฮลท์ พลัส (Health Plus) แบบมีความรับผิดส่วนแรก
- ความรับผิดส่วนแรก (Deductible) หมายถึง ความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับภาระตามข้อตกลงของสัญญาประกันภัย
- สัญญาเพิ่มเติมมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย หรือให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ขึ้นอยู่กับอายุ อาชีพ การเรียกร้องค่าสินไหม ของผู้เอาประกันภัยรวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- การตรวจสุขภาพและการแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย และการจ่ายเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ (บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติมเมื่อเห็นว่าจําเป็น)
- เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :