การเลือกซื้อประกันสุขภาพสำคัญมาก ๆ ในปัจจุบัน เพราะความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บนั้นไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้นการมีประกันสุขภาพจึงเป็นการเตรียมความพร้อมทางการเงินและสุขภาพในอนาคต ในบทความนี้จะอธิบายว่าการประกันสุขภาพคืออะไร และมีกี่แบบ
การประกันสุขภาพ คืออะไร
การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยด้วยโรคภัย หรือจากอุบัติเหตุก็ตาม โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกได้เป็น 7 หมวด ได้แก่
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ประกอบไปด้วย ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการทั่วไป ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุ
- ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการผ่าตัด
- ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล
- ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลีนิค หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
- ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาทันตกรรม
- การชดเชยค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ประกันสุขภาพแต่ละแบบประกัน อาจไม่ได้มีความคุ้มครองครอบคลุมครบทั้ง 7 หมวดดังกล่าว เนื่องจาก ผู้ขอทำประกันสุขภาพแต่ละคนต่างก็มีความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างกัน ส่งผลให้ในปัจจุบันมีประกันสุขภาพเกิดขึ้นหลายแบบประกัน ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป
ประกันสุขภาพ มีกี่แบบ
โดยส่วนใหญ่แล้ว การประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันสุขภาพแบบหมู่หรือที่เรียกกันว่าประกันภัยกลุ่ม และการประกันสุขภาพรายบุคคล อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีแบบประกันสุขภาพที่หลากหลายมาก ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอแบบประกันสุขภาพ ที่น่าสนใจ จัดแบ่งกลุ่มชื่อเรียก ตามลักษณะและจุดเด่นของแบบประกัน ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มแบบประกันที่คนทั่วไปเข้าใจ และมักจะเรียกกัน โดยจะขอยกตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่มเแบบประกัน ดังนี้
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
คือ ประกันสุขภาพที่กำหนดวงเงินรักษาต่อปีหรือต่อครั้ง ที่มักจะครอบคลุมผลประโยชน์และความคุ้มครองทุกหมวด รวมถึงยังครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด โดยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ป่วยเป็นโรคร้ายแรง วงเงินค่ารักษาในแต่ละครั้งอาจสูงถึงหลักล้านบาท ประกันสุขภาพในกลุ่มนี้จะช่วยลดความกังวลเรื่องค่าบริการทางการแพทย์ ที่อาจถูกปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งหากทำประกันสุขภาพในกลุ่มอื่น เช่นประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย ค่ารักษาที่เกิดขึ้นอาจเกินวงเงิน สำหรับแต่ละหมวดของประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายได้ แต่อย่างไรก็ตามในเรื่อง ค่าเบี้ยประกันภัยนั้น ค่าเบี้ยประกันภัยของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายก็อาจสูงกว่าประกันสุขภาพแบบอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง
แบบประกันสุขภาพโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ แผน 3 ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน แบบเหมาจ่ายสูงสุด ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่งจำนวน 5,000,000 บาท อีกทั้งยังครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ทั้งกรณีเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ โดย “จ่ายตามจริง”
ประกันสุขภาพโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์
แบบประกันสุขภาพโอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ แผน Diamond ผลประโยชน์และความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน แบบเหมาจ่าย สูงสุดถึง 80,000,000 บาทต่อรอบปีกรมธรรม์ อีกทั้งยังมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก และค่ากายภาพบำบัด กรณีผู้ป่วยนอกจำนวน 10,000 บาท ต่อรอบปีกรมธรรม์
ประกันสุขภาพโอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์
ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา
คือ ประกันสุขภาพที่กำหนดวงเงินจำกัดสำหรับการคุ้มครองในแต่ละหมวด เช่น หมวดผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน วงเงินค่าห้อง ค่าอาหาร วงเงินค่าบริการทางการแพทย์ หรือวงเงินค่ายาสำหรับกลับบ้าน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มักกำหนดเป็นวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ซึ่งการจำกัดวงเงินผลประโยชน์ความคุ้มครองของประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา จึงอาจทำให้ผลประโยชน์ความคุ้มครองที่ได้รับ ไม่ครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด
ประกันสุขภาพประเภทนี้มักมีเบี้ยประกันภัยถูกกว่าเบี้ยประกันภัยของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย เหมาะสำหรับผู้ที่มีสวัสดิการด้านสุขภาพอื่น ๆ อยู่แล้ว แต่ยังกังวลว่าอาจไม่เพียงพอ
ตัวอย่าง
แบบประกันสุขภาพโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นชัวร์ เฮลท์ แผน 1 (H&S 1,000 บาท) ผลประโยชน์และความคุ้มครอง กรณีผู้ป่วยใน ค่าห้องทั่วไป 1,000 บาทต่อวัน ค่าห้องผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) 2,000 ต่อวัน ครอบคลุมค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา รวมถึงค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าบริการทางการพยาบาล ค่ายา ค่าสารอาหารทางหลอดเลือด และค่าเวชภัณฑ์ สูงสุด 15,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
ประกันสุขภาพโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นชัวร์ เฮลท์
ประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก
คือ ประกันสุขภาพที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการจ่ายผลประโยชน์และความคุ้มครองหมวดต่าง ๆ เฉพาะค่ารักษาส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรกที่ผู้ทำประกันสุขภาพจะต้องจ่ายด้วยเงินของตัวเอง หรือด้วยสวัสดิการอื่น ๆ ที่มีอยู่ โดยจำนวนความรับผิดส่วนแรก จะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในเงื่อนไขกรมธรรม์
ประกันสุขภาพประเภทนี้จึงเหมาะเป็นตัวช่วยในกรณีที่ผู้ขอทำประกัน มีประกันกลุ่มที่มีความคุ้มครองสุขภาพ สวัสดิการบริษัท หรือสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว
ตัวอย่าง
แบบประกันสุขภาพเฮลท์ พลัส แบบมีความรับผิดส่วนแรก แผน 2 ความรับผิดส่วนแรก ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง จำนวน 30,000 บาท สมมติว่าผู้ทำประกันสุขภาพได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวน 100,000 บาท เมื่อผู้ทำประกันสุขภาพ ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนแรก จำนวน 30,000 บาทแล้ว จะสามารถขอเคลมส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก คือส่วนที่เหลือจำนวน 70,000 บาท กับบริษัทประกันภัย เนื่องจากแบบประกันสุขภาพเฮลท์ พลัส แบบมีความรับผิดส่วนแรก แผน 2 มีผลประโยชน์และความคุ้มครอง ส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก สูงสุดจำนวน 300,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ปวยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
ประกันสุขภาพเฮลท์ พลัส แบบมีความรับผิดส่วนแรก
ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง
คือ ประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองโรคร้ายแรง โดยชื่อ คำนิยาม จำนวนของโรคร้ายแรงที่คุ้มครองจะกำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์นั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคที่มีค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง เช่น เนื้องอกในสมอง โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง เป็นต้น
ตัวอย่าง
แบบประกันสุขภาพ ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค คุ้มครอง 17 โรคร้ายแรง เมื่อผู้ทำประกันสุขภาพ ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค เป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งใน 17 โรคร้ายแรงที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ ผู้ทำประกันสุขภาพสามารถขอเคลม ผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงรวมสูงสุด 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และเมื่อใช้สิทธิเรียกร้องผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงนี้แล้ว ประกันสุขภาพ ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค จะสิ้นผลบังคับทันที
ประกันสุขภาพ ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค
ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)
คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก กรณีผู้ทำประกันสุขภาพ เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในสถานพยาบาลนั้น ๆ เช่น เป็นผื่นคันจากการสัมผัสสารเคมี มีอาการท้องเสีย เป็นต้น
ตัวอย่าง
แบบประกันสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ โอพีดี แผน OPD2000 ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก สูงสุดจำนวน 2,000 บาท ต่อครั้ง ต่อวัน
ประกันสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ โอพีดี
นอกจากแบบประกันสุขภาพที่กล่าวไปแล้ว ยังมีประกันสุขภาพและสัญญาเพิ่มเติมให้เลือกทำอีกหลายรูปแบบ เช่น สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้รายวัน สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งก่อนขอทำประกันสุขภาพ ผู้ขอทำประกันสุขภาพควรพิจารณาความคุ้มครองของแต่ละแบบประกันให้ถี่ถ้วน โดยอาจเทียบกับสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว เพื่อป้องกันผลประโยชน์และความคุ้มครองที่ซ้ำซ้อน ก็จะช่วยให้ประกันสุขภาพที่ท่านเลือกทำ เป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
ข้อควรทราบ :
- % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย (H&S Lump Sum)
- โอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ ซูพรีม เฮลท์ (Supreme Health)
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นชัวร์ เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ (H&S)
- ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโอเชี่ยนไลฟ์ ซุปเปอร์ เฮลท์แคร์ 90/10
- โอเชี่ยนไลฟ์ โอพีดี เป็นชื่อทางการตลาดของ บันทึกสลักหลังค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
- ความรับผิดส่วนแรก (Deductible) หมายถึง ความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับภาระตามข้อตกลงของสัญญาประกันภัย
- สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย หรือให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ขึ้นอยู่กับอายุ อาชีพ การเรียกร้องค่าสินไหม ของผู้เอาประกันภัยรวมถึงเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
ข้อมูลอ้างอิง :