นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เรื่อยมาจนถึงการรุกรานประเทศยูเครนของสหพันธรัฐรัสเซีย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเองก็หนีไม่พ้น โดยหนึ่งในปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดคือ ปัญหาเงินเฟ้อ
บทความนี้จะพาไปรู้จักว่า เงินเฟ้อ คืออะไร และส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปอย่างไรบ้าง
เงินเฟ้อ คืออะไร
เงินเฟ้อ คือ การวัดว่าราคาของสินค้า (เช่น อาหาร เสื้อผ้า ) และบริการ (เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล) เพิ่มขึ้นเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน
เงินเฟ้อ เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณสินค้าและบริหารไม่เพียงพอกับความต้องการ รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเวลาต่อมา
การวัดอัตราเงินเฟ้อ สำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์จะเก็บข้อมูลราคาสินค้าและบริการจำนวน 430 รายการทุกเดือน และเปรียบเทียบราคาของสินค้าและบริการกับราคาเมื่อ 1 ปีก่อนหน้า โดยค่าเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ เรียกว่า “อัตราเงินเฟ้อ” หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 5.02 แปลว่าราคาโดยเฉลี่ยในปัจจุบันสูงกว่าราคาในปีที่แล้วอยู่ร้อยละ 5.02 เช่น ปี 2565 น้ำดื่มขนาด 5 ลิตรราคา 50 บาท ส่วนปี 2566 มีราคา 52.51 บาท เป็นต้น
เงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร
สำหรับประชาชนทั่วไป เงินเฟ้อจะส่งผลให้รายจ่ายสูงขึ้น สวนทางกับอำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง จึงอาจทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยอีกด้วย เช่น หากประชาชนฝากเงินกับธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เท่ากันทุกปีคือ ร้อยละ 2 โดยที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 1.5 เท่ากับว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ประชาชนได้รับไปเพื่อจับจ่ายใช้สอยจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 เท่านั้น และหากภาวะเงินเฟ้อยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนอัตราเงินเฟ้อสูงเท่ากับหรือเกินกว่าอัตราดอกเบี้ย เท่ากับว่าผลตอบแทนที่ประชาชนได้รับนั้นติดลบ
อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากผลของเงินเฟ้อ คือ ค่ารักษาพยาบาล โดยในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) ของประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 9.20 ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าห้องพักโรงพยาบาล รวมถึงค่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่ต้องใช้ในการรักษาการเจ็บป่วยจากโรค และอุบัติเหตุอีกด้วย
เงินเฟ้อแบบนี้ ลงทุนอะไรดี
ในภาวะเงินเฟ้อ หลายคนอาจเลือกเก็บเงินไว้กับตัวมากกว่าลงทุน ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถรักษาอำนาจการซื้อไว้ได้เลย ดังนั้น จึงควรลงทุนอย่างมีแบบแผน เช่น ลงทุนในกองทุนที่เกี่ยวกับทองคำ เพราะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น และกลุ่มหุ้นที่ไม่ไหวเอนตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก เป็นต้น
นอกจากนั้น ในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วด้วย ซึ่งอาจทำให้วงเงินค่ารักษาพยาบาลจากประกันกลุ่มที่เป็นสวัสดิการของบริษัทไม่เพียงพออีกต่อไป การทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายอาจช่วยเป็นหลักประกันในยามที่เจ็บป่วยได้มากขึ้น
เลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย หลักประกันสุขภาพที่ควรมีในภาวะเงินเฟ้อ
ประกันสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์
เมื่อขอทำแผน 3 คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุดถึง 5 ล้านบาท พร้อมครอบคลุมการผ่าตัดใหญ่แบบ Day Surgery
สนใจขอทำประกันโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ คลิก
ประกันสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจาก Ocean Life ไทยสมุทร คุ้มครองทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) ครอบคลุมการบำบัดรักษาโรคร้ายที่ค่าใช้จ่ายสูงอย่างไตวายและมะเร็ง
สนใจของทำประกันโอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ คลิก
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย (H&S Lump Sum)
- โอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ ซูพรีม เฮลท์ (Supreme Health)
- สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย สำหรับโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ อาจให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ขึ้นอยู่กับอายุ อาชีพ การเรียกร้องค่าสินไหม ของผู้เอาประกันภัยรวมถึงเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของบริษัท
- อาณาเขตความคุ้มครองของ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ ซูพรีม เฮลท์ (Supreme Health) : ให้ความคุ้มครองในประเทศไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตามบริษัท จะให้ความคุ้มครองนอกอาณาเขตประเทศไทยในกรณีการบาดเจ็บทางร่างกาย จากอุบัติเหตุ และ/หรือการป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายใน 90 วันแรกนับแต่วันเดินทางออกนอกอาณาเขตประเทศไทยแต่ละครั้ง โดยบริษัท จะให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลดังกล่าวสูงสุดไม่เกินวันที่ 90 นับแต่วันเดินทางออกนอกอาณาเขตประเทศไทยครั้งนั้น ๆ
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัท กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
การตรวจสุขภาพและการแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย และการจ่ายเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ (บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติมเมื่อเห็นว่าจําเป็น)
ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
ข้อมูลจาก :
ธนาคารแห่งประเทศไทย 1, 2
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์