โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว และมีค่าใช้จ่ายสูง การมีประกันชีวิตที่ครอบคลุมสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อย่างมาก โดยความคุ้มครองของประกันชีวิตแต่ละแบบก็แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ บทความนี้จะชวนมาทำความรู้จักโรคหลอดเลือดหัวใจ การรักษา และรูปแบบการคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย
ใครที่ยังไม่มีประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองโรคหลอดเลือดหัวใจ คลิก
โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงโคโรนารี ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงการมีไขมันอุดตันหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่สะดวก และไม่สามารถนำออกซิเจนไปสู่หัวใจได้
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่มักไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เนื่องจากไม่มีอาการปรากฏ สำหรับบางรายอาจมีอาการปวดเค้นที่บริเวณหัวใจ ปวดร้าวไปที่แขนและไหล่ซ้าย รวมถึง ข้อศอก ขากรรไกร และหลัง
วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
- การสวนหลอดเลือดหัวใจหรือการฉีดสี คือ การใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปตามหลอดเลือดแดงก่อนถึงหัวใจเล็กน้อย จากนั้นฉีดสารทึบรังสีเอ็กซเรย์เข้าทางสายสวนให้วิ่งไปที่หลอดเลือดหัวใจ แล้วทำการถ่ายภาพ เพื่อตรวจสอบการตีบแคบ หรือตีบตันของหลอดเลือด และพิจารณาหาแนวทางการรักษาต่อไป
- การรักษาด้วยยา สำหรับกรณีที่ตีบตันเป็นบางส่วน
- การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน สำหรับกรณีที่ตีบตันมาก โดยใส่อุปกรณ์เล็ก ๆ เข้าไปในหลอดเลือด แล้วทำการขยายบอลลูน ณ ตำแหน่งรอยตีบ จากนั้นปล่อยขดลวดค้างไว้
- การผ่าตัดทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจ สำหรับกรณีที่ตีบตันหลายตำแหน่ง โดยจะนำหลอดเลือดในร่างกายของคนไข้เอง มาต่อคร่อมเส้นเลือดที่ตีบทำให้เลือดมีทางเดินทางใหม่ และสามารถนำเลือดไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือดได้
ประกันคุ้มครองโรคหลอดเลือดหัวใจยังไงบ้าง
- ความคุ้มครองเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
โดยส่วนใหญ่แล้ว ประกันชีวิตที่คุ้มครองโรคหลอดเลือดหัวใจมักอยู่ในรูปแบบประกันโรคร้ายแรงหรือสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง ซึ่งแต่ละแบบจะกำหนดจำนวนความคุ้มครองแตกต่างกันไป
สำหรับสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรนั้น ความคุ้มครองโรคร้ายแรง กลุ่มที่ 3 “กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด” โดยกำหนด “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ” เป็นกลุ่มโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น ซึ่งจะจ่ายผลประโยชน์ 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ตัวอย่างที่ 1
นาย A ทำประกันชีวิตกับ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต และเลือกสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท หลังจากทำประกันชีวิตดังกล่าวเรียบร้อยแล้วเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งผ่านพ้นระยะเวลารอคอยไปแล้ว (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลารอคอย ที่นี่) นาย A ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปี และแพทย์พบว่านาย A เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงทำการรักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ นาย A จะได้รับเงินผลประโยชน์จำนวน 200,000 บาท เนื่องจากโรคร้ายแรงและการรักษาตรงตามข้อกำหนดของกรมธรรม์
- ความคุ้มครองหลังได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว
ประกันโรคร้ายแรงบางแบบ จะกำหนดให้มีการจ่ายผลประโยชน์โรคใดโรคหนึ่งเพียงโรคเดียว และเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้น ประกันหรือสัญญาเพิ่มเติมนั้นจะสิ้นผลบังคับทันที แต่สำหรับโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) นั้น มีความคุ้มครองโรคร้ายแรง 6 กลุ่มโรค และกลุ่มความคุ้มครองพิเศษของโรคมะเร็งระยะลุกลามในกลุ่มที่ 1
ซึ่งหากจ่ายผลประโยชน์ในกลุ่มโรคร้ายแรง กลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่งครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยไปแล้ว เฉพาะความคุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรงนั้นจะสิ้นสุดลงสัญญาเพิ่มเติมจะยังมีผลบังคับอยู่ และเมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงในกลุ่มโรคอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัย จะยังได้รับความคุ้มครองจากสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120)
ตัวอย่างที่ 2
ตามตัวอย่างที่ 1 บริษัทได้จ่ายผลประโยชน์ให้นาย A ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและรักษาด้วยการสวนหลอดเลือดจำนวน 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยไปแล้ว (200,000 บาท) หลังจากนั้น นาย A ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เป็นโรคร้ายแรงระยะรุนแรง ในกลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ให้ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่ตามเงื่อนไขกรมธรรม์เมื่อบริษัทเคยจ่ายผลประโยชน์กรณีเป็นโรคร้ายแรงในกลุ่มเดียวกันมาแล้ว ผลประโยชน์ที่เคยจ่ายมาก่อนหน้านี้ จะถูกหักออก เท่ากับว่า นาย A จะได้รับผลประโยชน์อีก 800,000 บาท
หลังจากนั้น ความคุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 3 “กลุ่มโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด” จะสิ้นสุดลง
นาย A จะยังคงได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรงในกลุ่มโรคอื่น ๆ อยู่ ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ นอกจากนั้นแล้วเมื่อมีการจ่ายผลประโยชน์ในกลุ่มโรคร้ายแรง กลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่งครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยไปแล้ว นาย A จะได้รับการยกเว้นเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้อีกด้วย
คลิกอ่านเงื่อนไขความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติม ที่นี่
ทำประกันชีวิตพร้อมสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) คลิก
- คุ้มครองโรคร้ายแรงสูงสุดถึง 120 โรค รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
- ครอบคลุมโรคร้ายทุกระยะรวมสูงสุด 700% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- ไม่ต้องจ่ายเบี้ยต่อ หากผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรงครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่งแล้ว
ข้อควรทราบ :
- สัญญาเพิ่มเติม มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ สุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติมเมื่อเห็นว่าจําเป็น
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ที่ปรึกษาประกันชีวิต (ตัวแทนประกันชีวิต)มาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม