อายุที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมมาพร้อมโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่รักษายากขึ้น หรืออาจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หาย เช่น มะเร็ง อัลไซเมอร์ โรคเกี่ยวกับสมอง ซึ่งเกิดกับผู้สูงอายุทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาการของโรค หรือกระบวนการรักษาต่าง ๆ อาจมีผลทำให้เกิดความไม่สุขสบายทางร่างกาย และจิตใจในช่วงบั้นปลายชีวิต ดังนั้น ในปัจจุบัน การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) จึงเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับการรักษาที่ดำเนินควบคู่ไปกับการเพิ่มคุณภาพชีวิต และช่วงเวลาที่ดีให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว นั่นเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองได้ที่นี่ https://www.koonhospital.com/palliativecareintroduction
การดูแลแบบประคับประคอง คืออะไร รับการรักษาได้ที่ไหน
การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การรักษาที่มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้ และครอบครัว ให้กับกลุ่มโรคที่รักษาไม่หายขาด โดยครอบคลุมทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยเริ่มจากการพูดคุยวางแผนการรักษาร่วมกับคนไข้ และครอบครัว โดยคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของคนไข้ และครอบครัวอยู่เสมอ รวมถึงการจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ อย่างเข้มข้น โดยมุ่งหวังให้ทั้งครอบครัวได้ใช้ช่วงเวลาที่มีคุณค่าร่วมกันมากที่สุด
การดูแลแบบประคับประคองสามารถเริ่มต้นได้ทันทีตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด หรือรักษาควบคู่ไปพร้อมกับการรักษาหลัก โดยไม่จำเป็นต้องเลือกรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในปัจจุบัน มีสถานพยาบาลหลายแห่งที่นำแนวทางการดูแลแบบ Palliative Care มาใช้ และยังมีสถานพยาบาลเฉพาะทางที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาแบบ Palliative Care อีกด้วย เช่น โรงพยาบาลคูน โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลแบบ Palliative Care (หรือการดูแลแบบประคับประคอง) แห่งแรกในไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาให้กับคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด และอาการหรือการรักษาของโรคนั้น ๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ เป็นต้น
การดูแลแบบประคับประคอง เหมาะกับใคร
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในแต่ละปี มีผู้ป่วยราว 56.8 ล้านคน ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โดยในจำนวนนี้ มีถึง 25.7 ล้านคนที่อยู่ในช่วงปีสุดท้ายของชีวิต อย่างไรก็ตาม มีแค่ราว 14% ของผู้ป่วย 56.8 ล้านคนเท่านั้น ที่มีโอกาสได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
การดูแลแบบประคับประคอง เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด และมีผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เช่น โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคปอด โรคหัวใจเรื้อรัง โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคตับแข็งระยะท้าย และผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
การดูแลแบบประคับประคอง ด้านร่างกาย
การดูแลแบบประคับประคองทางด้านร่างกาย ครอบคลุมหลากหลายรูปแบบ เช่น
- การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการและผลข้างเคียง
- การรักษาแบบอื่น ๆ เช่น รังสี การผ่าตัด เพื่อบรรเทาอาการและผลข้างเคียง
- กายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ
- การปรับเปลี่ยนทางโภชนาการ
การดูแลแบบประคับประคอง ด้านจิตใจ
- พูดคุย รับฟัง และให้คำปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัวด้วยการฟังเชิงลึก (Deep listening) เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียดทางด้านจิตใจ รวมถึงเข้าใจเป้าหมายและความคาดหวังที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
- สร้างสรรค์กิจกรรมบำบัดต่าง ๆ ที่จะช่วยเพื่อการผ่อนคลาย เช่น การนั่งสมาธิ ดนตรีบำบัด (Music Therapy) สัมผัสบำบัด (Touch Therapy) การบำบัดด้วยกลิ่นหอม (Aroma Therapy) โยคะ รวมไปถึงการเป็นอาสาสมัครในหัวข้อที่ผู้ป่วยและครอบครัวเห็นว่ามีความหมาย เป็นต้น
- ออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษา
โรงพยาบาลคูน มีการจัดกิจกรรมบำบัดประเภทการบำบัดด้วยกลิ่นหอม (Aroma Therapy)
การดูแลแบบประคับประคอง ด้านสังคม
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไม่กล้าพูดคุยกับญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับความรู้สึกและสิ่งที่ต้องเผชิญเมื่อป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หาย จึงทำให้เกิดการหลีกหนีสังคม หรือต้องการแยกตัวออกห่างจากครอบครัว นอกจากนั้น ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ยังไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติอันเนื่องมาจากอาการของโรค เช่น ไม่สามารถขับรถเพื่อไปรับการรักษาได้
ดังนั้น การดูแลรักษาแบบประคับประคองจึงครอบคลุมไปถึงด้านสังคม เช่น เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์อาจเข้ามาช่วยเหลือในการหาผู้ดูแลรับส่งผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วยในการหารือกับญาติและผู้ดูแล รวมไปถึงช่วยหาทางออก ในกรณีที่ผู้ดูแลรู้สึกว่ามีปัญหารุมเร้า เป็นต้น
การดูแลแบบประคับประคอง ด้านจิตวิญญาน
การป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หาย อาจทำให้เกิดหลายคำถามที่หาคำตอบไม่ได้ หรือผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ อาจมองหาจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ในต่างประเทศ อนุศาสนาจารย์มีส่วนช่วยในการให้คำปรึกษาทั้งสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาต่าง ๆ และผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนา
ประกันแบบใด ที่คุ้มครองการดูแลแบบประคับประคอง
ประกันที่ให้ความคุ้มครองการดูแลแบบประคับประคองส่วนใหญ่เป็น ประกันสุขภาพ โดยในแต่ละแบบประกันจะให้ผลประโยชน์แตกต่างกัน และกำหนดอายุในการรับประกันภัยต่างกันด้วย
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย โอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ แผน Diamond
ผลประโยชน์และความคุ้มครองครอบคลุมการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้ายสูงสุดถึง 200,000 บาท*
อายุรับประกันภัยตั้งแต่ 11-80 ปี มาพร้อมทั้งความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
“สนใจขอทำประกันโอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ แผน Diamond คลิก”
ข้อควรทราบ :
- *ผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลและการดูแลประคับประคองระยะสุดท้าย 1 ครั้งตลอดอายุสัญญาเพิ่มเติมนี้ โดยคิดค่าใช้จ่ายรวมทุกการป่วยหรือบาดเจ็บ
- โอเชี่ยนไลฟ์ ซูพรีม เฮลท์ เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ ซูพรีม เฮลท์ (Supreme Health)
- อาณาเขตความคุ้มครอง: ให้ความคุ้มครองในประเทศไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตามบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองนอกอาณาเขตประเทศไทยในกรณีการบาดเจ็บทางร่างกาย จากอุบัติเหตุ และ/หรือการป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายใน 90 วันแรกนับแต่วันเดินทางออกนอกอาณาเขตประเทศไทยแต่ละครั้ง โดยบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลดังกล่าวสูงสุดไม่เกินวันที่ 90 นับแต่วันเดินทางออกนอกอาณาเขตประเทศไทยครั้งนั้น ๆ
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ อาชีพ การเรียกร้องค่าสินไหม ของผู้เอาประกันภัย รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่ม
พิเศษ ! สำหรับสมาชิก OCEAN CLUB APP เท่านั้น ใช้ OCHI COIN 10 เหรียญ แลกรับส่วนลด 10% เฉพาะค่าห้อง หรือ ส่วนลด 5% เฉพาะค่ายา สำหรับห้องพัก Deluxe Balcony แบบรายวัน ที่โรงพยาบาลคูน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลคูน
Facebook: Facebook.com/koonhospital
Line: @koonhospital
Email: support@koonhospital.com หรือโทร 02-405-3899
ข้อมูลจาก :
โรงพยาบาลคูน
องค์การอนามัยโลก (WHO)
Cancer.net by the American Society of Clinical Oncology (ASCO)