แม้ว่าทุกคนมักจะเตรียมตัวสำหรับการยื่นภาษีอย่างครอบคลุมแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาขอคืนภาษี กลับสับสนว่าควรส่งเอกสารอะไรบ้างให้กับกรมสรรพากร คำตอบก็คือ “ส่งเอกสารตามที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบเท่านั้น” โดยเอกสารที่กรมสรรพากรมักเรียกตรวจสอบ มีดังนี้
รวมรายชื่อเอกสารที่กรมสรรพากรมักเรียกตรวจสอบ เมื่อขอคืนภาษี
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และ/หรือ หลักฐานแสดงการจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับ (ถ้ามี) เพื่อตรวจสอบรายได้ที่ผู้เสียภาษีได้รับและถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ส่วนค่าชดเชยที่ได้รับนั้น จะมีการตรวจสอบว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
- ใบรับรองกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
- หนังสือรับรองเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่หากนายจ้างได้ระบุจำนวนเงินที่ผู้มีเงินได้ (ลูกจ้าง) ได้จ่ายหรือถูกหักเงินไว้แล้วในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย อนุโลมให้ไม่ต้องแนบ
- หนังสือรับรองเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
- ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันชีวิต/หนังสือรับรองการจ่ายเงินเบี้ยประกันชีวิต
- หนังสือรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านหลังที่กู้
- ใบเสร็จรับเงิน/ใบอนุโมทนาบัตรเงินบริจาค
- ใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือ 91 กรณียกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
- ใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือ 91 กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
Step by Step เช็กรายชื่อเอกสารที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบทางเว็บไซต์
แม้ว่าเราจะทราบรายชื่อเอกสารทั้งหมดที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบจากหัวข้อข้างต้นแล้ว แต่การเตรียมเอกสารทุกอย่างเผื่อเอาไว้อาจใช้เวลามาก กรมสรรพากรจึงจัดทำระบบ My Tax Account เพื่อแจ้งรายชื่อเอกสารที่กรมสรรพกรต้องการ รวมถึงส่งหนังสือขอเอกสารให้ผู้เสียภาษีทางไปรษณีย์ด้วย
หากต้องการทราบรายชื่อเอกสารที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ ให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร คลิกที่นี่
2. คลิก e-Refund สอบถาม/ส่งเอกสารคืนภาษี
3. ระบบจะนำเข้าสู่หน้าใหม่ โดยกรมสรรพากรปรับเปลี่ยนช่องทางการให้บริการ สอบถาม/ส่งเอกสาร การคืนภาษี (ภ.ง.ด.90/91) ผ่านระบบ My Tax Account
คลิก My Tax Account
4. เข้าสู่ระบบด้วย RD ID กรอกเลขประจำตัวประชาชน รหัสผ่าน และ Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน คลิกเข้าสู่ระบบ หรือหากท่านต้องการทราบข้อมูลเงินได้/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้เข้าสู่ระบบด้วย Digital ID โดยมีทั้ง NDID Platform, แอปพลิเคชัน ThaID และแอปพลิเคชันเป๋าตัง
5. คลิกเลือกเบอร์โทรศัพท์ที่ได้แจ้งไว้ (ระบบจะแสดงตัวเลข 4 ตัวสุดท้ายของเบอร์โทรศัพท์) หรือระบุเบอร์โทรศัพท์ใหม่ แล้วคลิก ขอรหัส OTP
6. กรอกรหัส OTP แล้วคลิก ยืนยัน OTP
7. ระบบจะแสดงข้อมูล ชื่อ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และที่อยู่ที่ติดต่อได้ จากนั้นคลิกเลือกข้อมูลปีภาษีที่ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ แล้วคลิก ติดตามสถานะและส่งเอกสาร
8. ระบบจะแสดงรายการเอกสารที่กรมสรรพากรขอเพิ่มเติม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยสามารถคลิก เลือกเอกสารเพื่อนำส่ง เพื่อดำเนินการส่งเอกสารต่าง ๆ ได้ทันที
นอกจากการส่งเอกสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ My Tax Account แล้ว ยังสามารถส่งเอกสารด้วยตนเอง ทางไปรษณีย์ หรือโทรสารด้วยเช่นกัน
สำหรับใครที่มียอดภาษีที่ต้องจ่ายสูง จนไม่สามารถขอคืนภาษีได้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรขอแนะนำ ประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 ที่สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
ลดหย่อนได้ 1 แสน ไม่ต้องรอนาน 8 ปี ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด
ทำประกัน โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5
ซื้อประกันลดหย่อนภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ คลิก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1503 กด 4
ข้อควรทราบ :
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันภัยให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้งเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :