ในช่วงเดือน ก.ค. ถึงต้นเดือน ต.ค. สิ่งที่ผู้ทำอาชีพอิสระจำเป็นต้องทำคือการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี หรือภ.ง.ด. 94 ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องที่ผู้มีเงินได้จากอาชีพอิสระจำเป็นต้องรู้ ได้แก่ กำหนดการยื่นภาษีครึ่งปี ประจำปี 2566 และเงื่อนไข รวมถึงเกณฑ์การลดหย่อนต่าง ๆ
ยื่นภาษีครึ่งปี 2567 (ภ.ง.ด. 94) คืออะไร
คือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับตั้งแต่เดือน ม.ค.ถึงเดือน มิ.ย. 2567 ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นหรือไม่ก็ตาม โดยการยื่นภาษีครึ่งปี 2567 นั้น เป็นการ ชำระภาษีไว้ล่วงหน้า ช่วยให้ผู้มีเงินได้ สามารถคาดการณ์จำนวนเงินได้ตลอดปีภาษีของตน จากเงินได้ในครึ่งปีแรกของตน เพื่อประเมินและวางแผนลดหย่อนภาษีก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 อีกครั้ง หากไม่มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 อาจจะทำให้ผู้มีเงินได้ ไม่ได้เตรียมตัววางแผนทำให้ต้องชำระภาษีในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 เป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้
ยื่นภาษีครึ่งปี 2567 (ภ.ง.ด. 94) ยื่นได้ถึงเมื่อไร
ตั้งแต่ 1 ก.ค. - 30 ก.ย. 2567 แต่ยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตได้ถึง 8 ต.ค. 2567
ใครต้องยื่นภาษีครึ่งปี 2567
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5 หรือ 40(5) หมายถึง เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงเงินหรือประโยชน์ที่ได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อ และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนที่ผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขาย โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วอีกด้วย
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 6 หรือ 40(6) หมายถึง เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 7 หรือ 40(7) หมายถึง เงินได้จากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน จัดหาวัสดุส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับจ้างทาสี เป็นต้น
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) หมายถึง เงินได้จากการพาณิชย์ หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินได้ตามมาตรา40(1)-(7)เช่น รางวัลจากการชิงโชค รายได้จากการขายของชำ การขายอสังหาริมทรัพย์ การขายของออนไลน์ เบี้ยยังชีพที่รัฐบาลจ่ายให้ เป็นต้น
โดยผู้ที่มีเงินได้ 4 ประเภทดังกล่าวจะต้องมีเงินได้พึงประเมินตามจำนวนดังต่อไปนี้ จึงจะมีหน้าที่ยื่นภาษีครึ่งปี 2567 (ภ.ง.ด. 94)
ผู้มีเงินได้ | จำนวนเงินได้พึงประเมิน | ผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 |
1. ผู้ที่เป็นโสด | เกิน 60,000 บาท | ผู้มีเงินได้ |
2. ผู้ที่มีคู่สมรส ที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน |
เกิน 120,000 บาท | ผู้มีเงินได้ |
3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง | เกิน 60,000 บาท |
ผู้จัดการมรดก / ทายาท / ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก |
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ | เกิน 60,000 บาท | ผู้จัดการ / ผู้อำนวยการของห้างหุ้นส่วนสามัญ |
5. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล | เกิน 60,000 บาท | ผู้จัดการของคณะบุคคล |
สิทธิลดหย่อนและยกเว้นภาษี สำหรับการยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94)
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว
หักลดหย่อนได้ จำนวน 30,000 บาท สำหรับกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนได้ จำนวน 30,000 บาท หากอยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียว หรือ 60,000 บาท หากอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส
หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- กรณีคู่สมรสมีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)-(8)
2.1 กรณีรวมคำนวณผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนส่วนตัวได้ จำนวน 30,000 บาท และหักลดหย่อนสามี/ภรรยาของผู้มีเงินได้ จำนวน 30,000 บาท
2.2 กรณีแยกยื่น ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนส่วนตัวได้ จำนวน 30,000 บาท - กรณีคู่สมรสมีเงินได้ เฉพาะตามมาตรา 40(1)-(4) หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (รวมกันถึง 180 วันในปีภาษี) หักลดหย่อนคู่สมรสได้ ไม่ว่าคู่สมรสจะอยู่ในไทยหรือไม่
- ส่วนกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (รวมกันไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) หักลดหย่อนได้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
- ค่าลดหย่อนบุตร
หักลดหย่อนได้เฉพาะบุตรที่มีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา ดังนี้
- บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ของผู้มีเงินได้/สามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้
1.1 หักลดหย่อนได้ คนละ 15,000 บาท
1.2 สำหรับคนที่สองเป็นต้นไปที่เกิดใน/หลังปี พ.ศ.2561 หักลดหย่อนเพิ่มอีก เป็นคนละ30,000 บาท - บุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท รวมไม่เกิน 3 คน
- กรณีมีทั้งบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมาหักก่อน
3.1 หากมีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนครบ 3 คนแล้ว จะหักบุตรบุญธรรมอีกไม่ได้
3.2 หากบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้ แต่เมื่อรวมกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องไม่เกิน 3 คน
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา
หักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท โดยบิดามารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากเป็นบุตรบุญธรรม ไม่สามารถหักลดหย่อนบิดามารดา
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริง ในระหว่างเดือนม.ค. ถึง มิ.ย.ของปีภาษี โดยส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท
- ค่าลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม สำหรับเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.ของปีภาษี
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
สำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายในระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.ของปีภาษี นำมาหักลดหย่อนได้ โดยส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันบำนาญ
หักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายในเดือน ม.ค.-มิ.ย.
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของตนเองและบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ไม่เกิน 60,000 บาท หากจ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของการตั้งครรภ์แต่ละคราวมิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับสิทธิตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
หักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
หักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุด 13,200 บาท
- การบริจาคให้ศาสนสถาน และองค์กรสาธารณกุศลอื่น ๆ
หักลดหย่อนได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้บริจาคจริงแต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอย่างอื่น และเงินบริจาค สนับสนุนการศึกษาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
- การบริจาคให้สถานศึกษาและสถานพยาบาลของราชการ
หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย
- การบริจาคให้พรรคการเมือง
หักลดหย่อนได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท
เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ด้วยประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 >>คลิก<<
- เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุด 100,000 บาท
- รวมผลประโยชน์ตลอดสัญญาสูง 560%
ข้อควรทราบ :
- % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯกำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :
https://www.rd.go.th/61549.html
https://www.rd.go.th/38763.html
https://www.rd.go.th/558.html
https://www.rd.go.th/62777.html
https://www.nsf.or.th/