ซื้อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง แล้วประกันสินเชื่อบ้าน จำเป็นไหม

ประกันสินเชื่อบ้าน จำเป็นไหม

บ้าน เป็นปัจจัยสี่ที่ถือว่าราคาสูงมาก โดยการซื้อบ้านแต่ละหลัง แม้ว่าเราจะเลือกซื้อแบบที่ราคาย่อมเยาที่สุดอย่างคอนโดมิเนียมห้องเล็ก ๆ ก็ยังต้องเสียเงินหลักแสนบาท แต่ถ้าเราเตรียมตัวให้ดี การมีบ้านในครอบครองก็คงเป็นฝันที่ไม่ไกลเกินเอื้อม วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทร จะมาแนะนำสิ่งที่ต้องทำก่อนซื้อบ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง ต้องใช้เงินเท่าไร แล้วประกันสินเชื่อบ้านจำเป็นแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่เลย

ซื้อบ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง

1. เตรียมเงินดาวน์ คำนวณเงินกู้

เงินดาวน์

การทราบจำนวนเงินวางดาวน์คร่าว ๆ จะทำให้เราวางแผนออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามมาตรการ LTV ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดเงินวางดาวน์ขั้นต่ำโดยขึ้นอยู่กับราคาบ้านหรือที่อยู่อาศัยประเภทอื่น ๆ และจำนวนสัญญา โดยนับเฉพาะสัญญาที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระ และสัญญาที่กำลังจะยื่นเพื่อซื้อบ้านใหม่เท่านั้น ไม่นับรวมบ้านที่ผ่อนชำระครบแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารแห่งประเทศไทยไม่บังคับใช้มาตรการ LTV กับผู้ที่ต้องการกู้เงินเพื่อการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง กล่าวคือสามารถขอกู้เงินได้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าบ้านโดยไม่ต้องมีเงินดาวน์ก็ได้ สามารถดูเงินวางดาวน์ขั้นต่ำ ตามมาตราการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตามตารางด้านล่างนี้เลย

 

ราคาบ้านหรือที่อยู่อาศัยอื่น ๆ จำนวนสัญญา เงินวางดาวน์ขั้นต่ำ
ไม่เกิน 10 ล้านบาท สัญญากู้หลังที่ 1 ไม่จำเป็นต้องมีเงินวางดาวน์
สัญญากู้หลังที่ 2

- 10% หากผ่อนสัญญาแรกแล้ว 2 ปีขึ้นไป
- 20% หากผ่อนสัญญาแรกไม่ถึง 2 ปี

สัญญากู้หลังที่ 3 ขึ้นไป 30%
มากกว่า 10 ล้านบาท สัญญากู้หลังที่ 1 10%
สัญญากู้หลังที่ 2 20%
สัญญากู้หลังที่ 3 30%

(ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

เงินกู้

ก่อนจะซื้อบ้านสักหลัง เราควรประเมินหาความสามารถในการกู้และความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน โดยปัจจัยที่ต้องนำมาใช้ในการประเมิน ประกอบไปด้วย 

  • รายได้ต่อเดือน (ทั้งรายได้ที่มั่นคง หรือรายได้ประจำ เช่น เงินเดือน, รายได้ที่ไม่มั่นคง เช่น เงินปันผลจากกองทุนที่ได้ซื้อไว้ รวมไปถึงเงินโบนัสต่าง ๆ) 
  • ภาระหนี้ต่อเดือน (เช่น หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ หนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เป็นต้น) จำนวนปีที่ต้องการกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อปี (%) 

จากนั้นสามารถเข้าไปคำนวณความสามารถในการกู้และการผ่อนชำระต่อเดือนในเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ เราจะทราบวงเงินสูงสุดที่เราจะสามารถกู้และผ่อนชำระต่อเดือนได้ ทำให้เราสามารถประเมินราคาของบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับตนเองได้

คำนวณความสามารถในการกู้และการผ่อนชำระต่อเดือน คลิก

2. เตรียมประวัติทางการเงิน

หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ตัวหรือหลงลืมว่ามีภาระหนี้สินอยู่ หนี้สินในชีวิตประจำวัน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ จะถูกธนาคารนำไปประกอบการพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย หากเป็นไปได้ ควรชำระหนี้ที่ยังค้างอยู่ให้ตรงเวลา ตรงตามกำหนดชำระ หรือชำระให้เสร็จสิ้นก่อนขอกู้ อย่างไรก็ตาม ประวัติการชำระหนี้ (เครดิตบูโร) จะคงค้างอยู่ในระบบ 3 ปี (36 เดือน) ดังนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้ชำระหนี้ตรงเวลาตรงตามกำหนดชำระอยู่เสมอ

การพิจาณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยนั้น ธนาคารต่าง ๆ จะใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ดังนั้น แม้ว่าเราอาจมีหนี้ค้างชำระอยู่บ้าง ก็ยังมีโอกาสได้รับการอนุมัติ แต่อาจไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้ตามที่คาดหวัง

(ข้อมูลจาก : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)

หากต้องการตรวจประวัติการชำระหนี้ (เครดิตบูโร) คลิก

3. เตรียมเอกสาร

แต่ละธนาคารอาจขอเอกสารในการอนุมัติเงินกู้แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ใช้เอกสารดังต่อไปนี้

  • เอกสารแสดงตัวตน เช่น บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล , หากสมรสแล้ว ต้องแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย คือ ทะเบียน  สมรส ไม่ว่าสถานะจะยังอยู่ด้วยกัน หรือแยกกันอยู่  หากหย่าแล้ว ต้องแสดง ใบหย่า เป็นต้น
  • เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน, เอกสารรับเงินบำนาญ, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ), รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน, รูปถ่ายกิจการ เป็นต้น
  • เอกสารแสดงหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เป็นต้น

ประกันสินเชื่อบ้าน จำเป็นแค่ไหน

แม้ว่ากฎหมายไม่ได้บังคับให้ผู้กู้ซื้อบ้านต้องทำประกันสินเชื่อบ้านก็ตาม แต่หากมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น อย่างการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานเพื่อมาผ่อนชำระต่อได้ จนอาจส่งผลให้ ผู้ที่อยู่อาศัยในขณะนั้น ซึ่งอาจเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้กู้ จำต้องย้ายออก การมีประกันสินเชื่อบ้านติดตัวไว้ ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา เพราะบริษัทที่รับประกันสินเชื่อบ้าน จะจ่ายผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต เท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยของเดือนที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ให้แก่ผู้รับประโยชน์หลักซึ่งก็คือธนาคารที่ผู้กู้ได้ทำสินเชื่อไว้ แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันภัยค้างชำระกับผู้รับประโยชน์หลักณ เวลาที่เสียชีวิต

กรณีผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะจ่ายผลประโยชน์ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันภัยค้างชำระอยู่กับผู้รับประโยชน์หลักในขณะที่ผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และหากมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเหลืออยู่ จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย

สำหรับใครที่กำลังหาอยู่ว่าควรทำประกันสินเชื่อบ้าน แบบไหนและที่ไหนดี Ocean Life ไทยสมุทร ขอแนะนำ

ประกันสินเชื่อบ้าน MRTA จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร 

ประกันคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับที่อยู่อาศัย

  • คุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 
  • เลือกระยะเวลาคุ้มครอง จะสั้น-ยาว ก็เลือกเองได้ 
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประภัยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 
  • ทำง่าย ขอทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้

สนใจทำประกัน ประกันคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับที่อยู่อาศัย คลิก

ข้อควรทราบ : 

  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด 
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันสุขภาพ (ถ้ามี) ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันภัยให้กรมสรรพากร 
  • การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ