3 ปีแรกในการผ่อนบ้าน ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ มักกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำ แต่หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงภาระทางการเงินต่อเดือนของผู้กู้จะมากขึ้นด้วย หลาย ๆ คนจึงตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารแห่งใหม่ที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า พร้อมโปรโมชันต่าง ๆ มากมาย
อย่างไรก็ตาม การรีไฟแนนซ์บ้าน ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เราต้องจ่ายยิบย่อย ซึ่งเมื่อรวมกับเวลาที่เสียไปในการดำเนินการแล้ว กลับกลายเป็นว่าเราสิ้นเปลืองมากกว่าที่คิด ดังนั้น บทความนี้ จะนำเสนอเช็กลิสต์ 5 ข้อที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดได้มากขึ้น
รีไฟแนนซ์บ้าน ต้องใช้อะไรบ้าง ไปเช็กดูกันเลย !
“ ทำประกันสินเชื่อบ้านเอง ถูก คุ้มค่า ราคาประหยัด คลิก ”
1. เช็กสัญญารีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม
เมื่อเราขอทำสินเชื่อบ้านกับธนาคารต่าง ๆ แต่ละแห่งจะกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วมักกำหนดไว้ที่ 3 ปี ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านหลังครบกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน มักจะไม่เสียค่าเบี้ยปรับใด ๆ
หากรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน อาจต้องเสียค่าเบี้ยปรับจากการไถ่ถอนก่อนกำหนดกับธนาคารเดิม ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ 3% ของยอดเงินคงค้าง ในกรณีที่ต้องการประหยัด จึงควรเช็กสัญญารีไฟแนนซ์บ้านฉบับปัจจุบันให้ถี่ถ้วนที่สุด แต่ถ้าคำนวณแล้วว่าอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารแห่งใหม่นั้นคุ้มค่า เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมที่ต้องเสีย ก็สามารถรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ โดยไม่ต้องรอจนสัญญาหมดอายุก็ได้
2. เช็กดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารทุกแห่ง
หลักสำคัญในการเลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ คือ อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อที่จะทำในอนาคต จะต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลอดสินเชื่อของสัญญาฉบับปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยของธนาคารที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน กำหนดให้ 3 ปีแรกอยู่ที่ MRR -4.36% ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปอยู่ที่ MRR -1.40% โดยมีอัตราดอกเบี้ยตลอดสัญญา 5.64% ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในสัญญาฉบับปัจจุบันที่กำหนดให้ 3 ปีแรกอยู่ที่ MRR -3.60% ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปอยู่ที่ MRR -1.40% โดยมีอัตราดอกเบี้ยตลอดสัญญา 5.95% เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า อาจกำหนดอายุสัญญาสั้นกว่าธนาคารที่เสนอดอกเบี้ยสูงกว่า เช่น ธนาคาร A ให้ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านตลอดสัญญา 5.64% โดยกำหนดอายุสัญญา 15 ปี ส่วนธนาคาร B ให้ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านตลอดสัญญา 5.66% โดยกำหนดอายุสัญญา 20 ปี หากเลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร A แม้ว่าดอกเบี้ยจะต่ำกว่า แต่ต้องผ่อนบ้านในระยะเวลาสั้นกว่า ดังนั้น ค่าผ่อนบ้านโดยเฉลี่ยต่อเดือนจะสูงกว่าการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร B ซึ่งอาจทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระต้องผ่อนสินค้าและบริการอื่น ๆ ทุกเดือน
3. เช็กค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน
ควรคำนวณค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านให้ละเอียดที่สุด เนื่องจากแต่ละธนาคารกำหนดไว้แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน มีดังนี้
- ค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน ที่ต้องจ่ายให้ธนาคารใหม่
โดยแต่ละธนาคารจะกำหนดค่าธรรมเนียมไว้แตกต่างกัน หรือบางธนาคารอาจไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
- ค่าอากรแสตมป์
ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ 0.05% ของวงเงินสินเชื่อ แต่สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท โดยอาจมีบางธนาคารกำหนดไว้ 0.5% ของวงเงินสินเชื่อ แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินกรมที่ดิน หรือสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท หรืออาจไม่เรียกเก็บค่าอากรสแตมป์เลยก็ได้
- ค่าธรรมเนียมจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน
ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ 1% ของวงเงินจำนอง แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่อาจมีบางธนาคารไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดจำนอง
- ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย
ไม่ว่าจะยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจากสถาบันการเงินเดิมหรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ หรือตัดสินใจไม่รีไฟแนนซ์บ้าน ก็ต้องทำประกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด โดยแต่ละธนาคารจะกำหนดค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยต่างกัน
- ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
เช่น ค่าธรรมเนียมกรณีขอยกเลิกประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ค่าตรวจสอบข้อมูลเครดิต เป็นต้น
4. เช็กเบี้ยประกันสินเชื่อบ้าน (MRTA)
หลายธนาคารมักมีข้อเสนอให้ผู้กู้ทำประกันสินเชื่อบ้านพร้อมกับการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยมักลดอัตราดอกเบี้ยช่วง 3 ปีแรกให้ เช่น หากรีไฟแนนซ์บ้านโดยไม่ทำประกันสินเชื่อบ้านกับธนาคาร อัตราดอกเบี้ย MRR จะอยู่ที่ -4.36% แต่หากทำประกันด้วย อัตราดอกเบี้ย MRR จะลดลงมาที่ -4.46% เป็นต้น
เบี้ยประกันสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบชำระครั้งเดียว ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยจะขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ระยะเวลาคุ้มครอง และจำนวนเงินเอาประกันภัย ดังนั้น ก่อนทำประกันสินเชื่อบ้าน ควรเช็กค่าเบี้ยประกันสินเชื่อบ้านให้รอบคอบก่อน เนื่องจากเบี้ยประกันสินเชื่อบ้านที่ทำเองกับบริษัทประกันอาจต่ำกว่าที่ธนาคารใหม่เสนอ ซึ่งจะช่วยประหยัดได้
เช็กเบี้ยประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรได้ง่าย ๆ คลิก
5. เช็กวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์ที่ธนาคารเสนอพ่วงมาด้วย
ธนาคารหลายแห่งมักเสนอวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์พร้อมกับการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบ ในกรณีที่ต้องการตกแต่งต่อเติมบ้าน การทำสินเชื่อเพิ่มนี้อาจมีประโยชน์ เพราะสามารถผ่อนชำระได้ ช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น แต่หากไม่ได้มีแผนการเป็นพิเศษ ก็ไม่จำเป็นต้องรับข้อเสนอของธนาคาร
จะเห็นได้ว่า การรีไฟแนนซ์บ้าน อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลาอยู่บ้าง แต่ถ้าทำอย่างละเอียดรอบคอบ จะช่วยให้ประหยัดเงินได้
รีไฟแนนซ์บ้านแล้ว อย่าลืมทำประกันสินเชื่อบ้าน !
- สร้างหลักประกันให้คุณและคนข้างหลังไม่ต้องรับภาระหนี้สิน หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
- คุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
“ ทำประกันสินเชื่อบ้านเอง ถูก คุ้มค่า ราคาประหยัด คลิก ”
ข้อควรทราบ :
- ประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน เป็นชื่อทางการตลาดของ ประกันคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน สำหรับที่อยู่อาศัย
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
- เบี้ยประกันภัยชีวิต/สุขภาพสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
ข้อมูลจาก :
https://www.1213.or.th/App/MCPD/FeeApp/homeloanFee
https://www.1213.or.th/th/moneymgt/debtmgt/Pages/debtrelief.aspx