เคยสงสัยกันไหมว่า “ความพร้อมทางการเงิน” ต้องวัดจากอะไร บางคนวัดจากเงินเดือนที่ได้รับ บางคนวัดจากจำนวนเงินเก็บในธนาคาร บางคนวัดจากมูลค่าสินทรัพย์ที่มีในครอบครอง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ต่างก็ใช้วัดความพร้อมทางการเงินได้ เพียงแต่อาจจะไม่ครอบคลุมทุกด้าน ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต จึงอยากชวนทุกคนมาสำรวจความพร้อมทางการเงินด้วย “เงินสำรองฉุกเฉิน 3 ก้อน” ที่ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาล และกรณีเสียชีวิต พร้อมแนะนำจำนวนเงินที่ควรมีด้วย
เงินสำรองฉุกเฉิน
จำนวนเงินที่ควรมี : 6-9 เท่าของรายได้ต่อเดือน
รูปแบบของเงินสำรอง : เงินสด
จุดประสงค์ของเงินสำรองฉุกเฉิน : เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน, เพื่อพยุงธุรกิจ
ไม่ว่าจะมีครอบครัวที่ต้องดูแล หรือเป็นโสด เงินสำรองฉุกเฉิน เปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดตัวไว้ในรูปแบบ “เงินสด” เพื่อคงสภาพคล่องทางการเงินในกรณีฉุกเฉินให้ใกล้เคียงกับการดำรงชีวิตปกติ
ตัวอย่างกรณีฉุกเฉิน
- โดนเลิกจ้างกระทันหัน
- ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว เป็นต้น ที่อาจทำให้ไม่สามารถหารายได้ได้ตามปกติ
- ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค เช่น สถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวประสบปัญหา เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง เป็นต้น
- ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซีย และสาธารณรัฐยูเครน ส่งผลต่อธุรกิจอาหารสัตว์ ทำให้เจ้าของกิจการต้องนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่น ที่อาจมีราคาสูงกว่า เป็นต้น
เงินสำรองกรณีเสียชีวิต
จำนวนเงินที่ควรมี : 10 เท่าของรายได้ต่อปี
รูปแบบของเงินสำรองกรณีเสียชีวิต : ประกันชีวิต
จุดประสงค์ของเงินสำรองกรณีเสียชีวิต : เป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร หรือพ่อแม่ที่ไม่มีรายได้
เป็นเงินสำรองก้อนสำคัญสำหรับคนที่มีครอบครัวต้องดูแล โดยเฉพาะผู้ที่มีลูก ถึงแม้คู่ครองจะมีรายได้ก็ตาม เพราะการมีลูกมีค่าใช้จ่ายสูง โดยค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ถึงช่วงทำคลอดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 - 100,000 สำหรับเด็กเล็กนั้น แม้ค่าอาหารจะไม่สูงมากนัก (ประมาณ 18,000-42,000 บาท/ปี) แต่ค่ารักษาพยาบาลอาจสูงเกิน 1,000 บาทต่อครั้ง ส่วนเด็กโตที่เริ่มเข้าเรียนแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาในช่วง 9-10 ปีแรกสูงถึง 200,000-500,000 บาทเลยทีเดียว ดังนั้น หากขาดรายได้จากผู้ปกครองคนใดคนหนึ่ง ก็อาจทำให้คนที่เหลือต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนักมากเกินไปได้
สำหรับคนที่ไม่มีลูก แต่ต้องดูแลพ่อแม่ที่ไม่มีรายได้แล้วนั้น ก็ควรมีเงินสำรองกรณีเสียชีวิตเช่นกัน เนื่องจากในยุคสมัยใหม่คนไทยมีอายุยืนยาว โดยคาดเฉลี่ยสูงถึง 77 ปี (ชาย 73.5 ปี และหญิง 80.5 ปี) ต่างจากเมื่อ 50 ก่อน ที่คนไทยมีอายุยืนโดยเฉลี่ยแค่ 60 ปีเท่านั้น ดังนั้น หากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับลูกที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็อาจทำให้พ่อแม่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้
เนื่องจากเงินสำรองกรณีเสียชีวิตจะต้องออมสูงถึง 10 เท่าของรายได้ต่อปี ดังนั้น การเก็บออมเงินจำนวนนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ประกันชีวิตจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการจัดการเงินสำรองก้อนนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต แนะนำประกันชีวิตคุ้มครองตลอดชีพ โอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/21 ที่ให้ความคุ้มครองชีวิตยาวนานถึงอายุครบ 99 ปี โดยสามารถเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้ครอบคลุมจำนวนเงินสำรองกรณีเสียชีวิตได้ตามที่ต้องการ
เช่น มีรายได้ต่อปี 240,000 บาท ต้องมีเงินสำรองกรณีเสียชีวิต 10 เท่าของรายได้ต่อปี คิดเป็น 2,400,000 บาท สามารถเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย 3,000,000 บาทได้ เป็นต้น
ซื้อประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น
- ชำระเบี้ยประกันภัย 21 ปี คุ้มครองชีวิตยาวนานถึงอายุครบ 99 ปี
- ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- มีส่วนลดเบี้ยประกันภัย ถ้าเลือกเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาทขึ้นไป
เงินสำรองค่ารักษาพยาบาล
จำนวนเงินที่ควรมี : 5 เท่าของรายได้ต่อปี
รูปแบบของเงินสำรองค่ารักษาพยาบาล : ประกันสุขภาพ
จุดประสงค์ของเงินสำรองค่ารักษาพยาบาล : เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล
หลาย ๆ คนคิดว่าหากไม่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ก็ไม่จำเป็นต้องมีเงินสำรองค่ารักษาพยาบาลมากนัก เพราะสามารถไปโรงพยาบาลรัฐที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงได้ แต่คนในวัยทำงาน อาจไม่สามารถหยุดงานบ่อย ๆ เพื่อไปรอคิวที่โรงพยาบาลรัฐได้ ส่วนคนที่มีสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการต่าง ๆ แม้ว่าสวัสดิการดังกล่าวจะครอบคลุมค่ารักษาค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หรือต้องรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายเดือน สวัสดิการที่มีก็อาจไม่เพียงพอได้
ตัวอย่างค่ารักษาพยาบาล
- การตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ B ค่ารักษาพยาบาลอาจสูงถึง 26,000 บาทต่อครั้ง
- การตรวจด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร ค่ารักษาพยาบาลอาจสูงถึง 50,000 บาทต่อครั้ง
- การผ่าตัดถุงน้ำดี ค่ารักษาพยาบาลอาจสูงถึง 280,000 บาทต่อครั้ง
- การเจาะหรือระบายสารคัดหลั่งบริเวณหนังตา ในผู้ป่วยตาอักเสบ ค่ารักษาพยาบาลอาจสูงถึง 18,000 บาทต่อครั้ง
ดังนั้น การมีประกันสุขภาพติดตัวไว้ จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิตแนะนำ ประกันสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า สามารถเลือกความคุ้มครองได้ถึง 3 แผน เพื่อให้ครอบคลุมจำนวนเงินสำรองค่ารักษาพยาบาลที่ควรมี
เช่น มีรายได้ 240,000 บาทต่อปี ต้องมีเงินสำรองค่ารักษาพยาบาล 5 เท่าของรายได้ต่อปี คิดเป็น 1,200,000 บาท แต่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ค่าห้องพัก และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกประมาณ 200,000 บาท/ปี สามารถเลือกความคุ้มครองแผน 1 ที่จ่ายผลประโยชน์ต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งใดครั้งหนึ่งสูงสุดถึง 1,0000,000 บาท เป็นต้น
ซื้อประกันโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า
- แผน 1 ผลประโยชน์ต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งใดครั้งหนึ่งสูงสุดถึง 1,0000,000 บาท
- แผน 2 ผลประโยชน์ต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งใดครั้งหนึ่งสูงสุดถึง 3,0000,000 บาท
- แผน 3 ผลประโยชน์ต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งใดครั้งหนึ่งสูงสุดถึง 5,0000,000 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาประกันชีวิต OCEAN LIFE ไทยสมุทรได้ทุกสาขาและสำนักงานตัวแทนทั่วประเทศ
ค้นหาสาขา คลิก https://www.ocean.co.th/contact/branch
ค้นหาสำนักงานตัวแทน คลิก https://www.ocean.co.th/contact/agent
หรือโทร. 1503
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม ได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหม รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) หมายถึง ความรับผิดระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัยที่ต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล อันจะพึงจ่ายตามจำนวนเงินผลประโยชน์ภายหลังหักจำนวนความรับผิดส่วนแรก (ถ้ามี)
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ ให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม