ใกล้ถึงฤดูเสียภาษีกันอีกแล้ว หลาย ๆ คนคงกำลังตรวจสอบค่าลดหย่อนภาษีแบบต่าง ๆ กันอยู่ ซึ่งค่าลดหย่อนแต่ละแบบต่างก็มีรายละเอียดที่ซับซ้อน วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทร จึงอยากชวนทุกคนมาทบทวนเงื่อนไข “ลดหย่อนพ่อแม่” ซึ่งเป็นค่าลดหย่อนที่ชวนให้สับสนไม่น้อย
โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงเงื่อนไข “ลดหย่อนพ่อแม่” 2 ประเภท คือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา และค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
- การหักค่าลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
- บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ (ไม่จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับผู้มีเงินได้)
- บิดามารดามีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ไม่เกิน 30,000 บาท
- ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา เช่น บิดามารดาจดทะเบียนสมรส, บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น โดยบุตรบุญธรรมไม่สามารถนำบิดามารดาซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้
- หากผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในไทย ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ในแบบแสดงรายการฯ ด้วย ในกรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว หากเข้าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) และได้ขอมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรประกอบแบบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) ใช้เป็นหลักฐานประกอบการหักลดหย่อนได้
- กรณีบิดามารดามีบุตรหลายคน ให้บุตรเพียงคนเดียวที่มีหนังสือรับรองฯ (แบบ ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน อย่างไรก็ตาม บุตรสามารถตกลงกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในแต่ละปีภาษีสลับกันได้ เช่น บุตรคนที่ 1 ปีนี้ใช้สิทธิลดหย่อนบิดา ปีหน้าจะใช้สิทธิลดหย่อนมารดา ส่วนบุตรคนที่ 2 ปีนี้ใช้สิทธิลดหย่อนมารดา ปีหน้าจะใช้สิทธิลดหย่อนบิดา เป็นต้น
- การหักค่าลดหย่อนบิดามารดา ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้น จะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท
นอกจากนั้น กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันทำประกันสุขภาพสำหรับบิดา-มารดา ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยเฉลี่ยเบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้ร่วมกันจ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้
การประกันสุขภาพบิดามารดา ต้องมีลักษณะดังนี้
- การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เช่น ประกันโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า ให้ผลประโยชน์กรณีเป็นผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ ค่าการบำบัดรักษาโรคเนื้องอกหรือมะเร็งโดยรังสีรักษา เป็นต้น
- การประกันภัยอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก เช่น ประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม แผนความคุ้มครองจัดเต็ม คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุทั่วไป กรณีขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ รวมถึงการสูญเสียอวัยวะและสายตา เป็นต้น
- การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses) เช่น สัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) ให้ความคุ้มครอง 6 กลุ่มโรคร้ายแรง และ 1 กลุ่มความคุ้มครองพิเศษ รวมสูงสุดถึง 120 โรคร้ายแรง เป็นต้น
- การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
ใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพสำหรับ “ลดหย่อนพ่อแม่” คลิก https://oceanlifeth.co/MXT94xJY
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติม
- คุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- ประกันอุบัติเหตุเลือกง่าย ได้เพิ่ม เป็นชื่อทางการตลาดของ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ เลือกง่าย ได้เพิ่ม
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันสุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้อง แจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :
https://www.rd.go.th/557.html
https://www.rd.go.th/60056.html
https://www.rd.go.th/60058.html