“เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุด 300,000 บาท” หลายคนอาจจะเคยได้เห็นข้อความนี้แล้วเกิดข้อสงสัยว่าประกันชีวิตแบบบำนาญให้ความคุ้มครองอย่างไร? ใครบ้างที่ควรทำประกันชีวิตแบบบำนาญ? แล้วลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทจริงหรือไม่? OCEAN LIFE ไทยสมุทรมีข้อมูลดีๆ มาฝากกันครับ
ประกันชีวิตแบบบำนาญคืออะไร?
ประกันชีวิตแบบบำนาญคือ ประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและจ่ายผลประโยชน์เงินคืนเป็นรายงวดในรูปแบบของเงินบำนาญหลังจากชำระเบี้ยประกันภัยครบตามกำหนดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบสัญญา เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเงินบำนาญให้กับตัวเองในวัยเกษียณ
ประกันชีวิตแบบบำนาญเหมาะกับใครบ้าง?
- คนที่ต้องการวางแผนทางการเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
เหมาะกับคนที่อยากเริ่มต้นสร้างความมั่นคงในชีวิต ต้องการวางแผนเก็บเงินในระยะยาว มีเงินบำนาญไว้ใช้ในวัยเกษียณอายุ ซึ่งหลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าประกันชีวิตแบบบำนาญค่อยซื้อตอนใกล้ๆ เกษียณก็ได้ แต่ที่จริงแล้วประกันชีวิตแบบบำนาญเริ่มทำได้ตั้งแต่วัยเริ่มทำงานเพราะเบี้ยประกันภัยยังต่ำกว่าเริ่มทำตอนอายุเยอะๆ อีกด้วย - คนที่ต้องการกระจายความเสี่ยง
เพราะประกันชีวิตแบบบำนาญมีการการันตีการจ่ายเงินบำนาญที่แน่นอนตามสัญญา ไม่ต้องกังวลกับสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน หรือเหมาะกับกลุ่มคนที่ไม่ได้ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การทำประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับคนกลุ่มนี้เช่นกัน - คนที่ต้องการซื้อประกันชีวิตเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี
นื่องจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท และเมื่อนำสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปรวมกับเงินได้จ่ายเข้ากองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท มีขั้นตอนการคำนวณอย่างไร?
ขั้นตอนที่ 1 นำเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปและเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญใช้สิทธิอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และสำหรับใครที่ไม่มีประกันชีวิตแบบทั่วไปหรือสัญญาเพิ่มเติมสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน 100,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือจากขั้นตอนที่ 1 ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เท่านี้เราก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากประกกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุดถึง 300,000 บาท
แต่ประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้จะต้องเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อดังต่อไปนี้
- ทำประกันชีวิตแบบบำนาญกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
- ต้องเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ผลประโยชน์เงินบำนาญจะเริ่มจ่ายเมื่ออายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จนถึงอายุไม่ต่ำกว่า 85 ปี
- ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบำนาญ ยกเว้นผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต
- ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใด ณ วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย หรือวันครบรอบกรมธรรม์ประกันภัยปีสุดท้ายก่อนรับเงินบำนาญ
- การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญในช่วงรับบำนาญต้องกำหนดจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เช่น รายปี รายเดือน
- ต้องเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีวงเล็บด้านหลังต่อท้ายชื่อว่า “บำนาญแบบลดหย่อนได้”
ประกันชีวิตแบบบำนาญนอกจากจะช่วยให้เรามีเงินใช้ในยามเกษียณแล้ว แถมยังได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 300,000 บาทอีกด้วย รู้แบบนี้แล้วลองมองหาประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหมาะกับเรา เพื่อที่จะได้รับทั้งความคุ้มครองชีวิต เงินบำนาญไว้ใช้ยามเกษียณและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีกันดีกว่า...
ใกล้สิ้นปีแบบนี้หากกำลังมองหาตัวช่วยในการบริหารภาษีและยังได้รับเงินคืนบำนาญ ช่วยให้คุณคลายกังวลกับค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณอีกด้วย OCEAN LIFE ไทยสมุทรขอแนะนำประกันรีไทร์ เรดดี้ (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
รีไทร์ เรดดี้ 85/5 (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
- ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง 5 ปี
- รับเงินบำนาญ 15% ต่อปี ตั้งแต่อายุ 60 – 85 ปี
- รับเงินบำนาญรวมตลอดสัญญาสูงสุด 390%
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท
รีไทร์ เรดดี้ 85/55 (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
- ชำระเบี้ยประกันภัยถึงอายุครบ 55 ปี
- รับเงินบำนาญ 15% ต่อปี ตั้งแต่อายุ 55 – 85 ปี
- รับเงินบำนาญรวมตลอดสัญญาสูงสุด 465%
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท
รีไทร์ เรดดี้ 85/60 (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้)
- ชำระเบี้ยประกันภัยถึงอายุครบ 60 ปี
- รับเงินบำนาญ 15% ต่อปี ตั้งแต่อายุ 60 – 85 ปี
- รับเงินบำนาญรวมตลอดสัญญาสูงสุด 390%
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท
ข้อควรทราบ:
% หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันสุขภาพ (ถ้ามี) ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันภัยให้กรมสรรพากร
- การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)