OCEAN LIFE ไทยสมุทร ขอพาผู้อ่านทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะหรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, พนักงานส่งของ Delivery, ไรเดอร์ เป็นต้น ไปสำรวจอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยอ้างอิงจาก โครงการสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ในเชิงลึก (Motorcycle Accident Investigation: Year 2016-2020) ที่มีการศึกษาอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์จำนวน 1001 เคส ซึ่งการเข้าใจประเภทของอุบัติเหตุที่ผู้ขับมอเตอร์ไซค์เผชิญเป็นประจำ จะช่วยให้เราขับขี่อย่างมีสติขึ้น สามารถปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยของตนเอง และช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุและการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่นได้
3 อุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ที่พบบ่อย
1. การชนกับยานพาหนะอื่น ขณะเลี้ยวตัดกระแสจราจรทางตรง
อาจเกิดขึ้นได้ทั้งการที่ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ หรือคู่กรณีไม่ว่าจะขับขี่ยานพาหนะใดก็ตาม เป็นผู้เลี้ยวตัดกระแสจราจรทางตรง เช่น การเลี้ยวกลับรถ การแซงเพื่อเปลี่ยนช่องจราจร เป็นต้น จากการศึกษาของศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (Thailand Accident Research Center) พบว่าอุบัติเหตุในลักษณะนี้มีมากถึงร้อยละ 30 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด
อุบัติเหตุที่เกิดขณะเลี้ยวตัดกระแสจราจรทางตรง โดยส่วนใหญ่เกิดเพราะผู้ขับขี่ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ลดความเร็ว หรือฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร เป็นหลัก แต่ก็อาจเกิดจากการขาดการสังเกตสภาพจราจรโดยรอบ การคำนวณที่ผิดพลาดว่าคู่กรณีจะหยุดให้ หรือไม่คาดคิดว่าคู่กรณีจะเลี้ยว
2. การชนท้าย
อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ชนท้ายยานพาหนะคันอื่น หรือยานพาหนะคันอื่นชนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ จากการศึกษาของศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (Thailand Accident Research Center) พบว่าอุบัติเหตุในลักษณะนี้มีมากถึงร้อยละ 18 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด
อุบัติเหตุประเภทการชนท้าย โดยส่วนใหญ่เกิดเพราะผู้ชนอยู่ในภาวะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ เช่น หลับใน มึนเมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น รวมไปถึงการขับเร็ว ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร และขับจี้ยานพาหนะที่อยู่ด้านหน้า จนไม่สามารถหยุดตามยานพาหนะคันหน้าได้ทัน
3. การชนกับยานพาหนะอื่น ขณะเลี้ยวบริเวณจุดตัดต่าง ๆ
อาจเกิดขึ้นได้ทั้งการที่ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ หรือคู่กรณีไม่ว่าจะขับขี่ยานพาหนะใดก็ตาม เป็นผู้เลี้ยวบริเวณจุดตัดต่าง ๆ เช่น การเลี้ยวเข้า-ออกซอย การเลี้ยวบริเวณสามแยกหรือสี่แยก เป็นต้น จากการศึกษาของศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (Thailand Accident Research Center) พบว่าอุบัติเหตุในลักษณะนี้มีมากถึงร้อยละ 13 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด
อุบัติเหตุที่เกิดขณะเลี้ยวบริเวณจุดตัดต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เกิดเพราะความไม่ระมัดระวัง เช่น ไม่มองสภาพจราจรโดยรอบก่อนเลี้ยวเข้าหรือออกจากซอย ขับตามคันหน้าโดยไม่ได้ตรวจสอบสภาพจราจรโดยรอบ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ประเภทอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยเป็นลำดับถัดมา ได้แก่ การขับมอเตอร์ไซค์ออกนอกถนนทางด้านซ้าย การขับมอเตอร์ไซค์พุ่งชนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น เกาะกลางถนน ต้นไม้ เป็นต้น การชนกันด้านข้างกับยานพาหนะอื่นขณะเปลี่ยนเลน เป็นต้น
2 แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์
แนวทางที่ 1 การสวมหมวกกันน็อค
การสวมหมวกกันน็อค ยังถือเป็นการป้องกันที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ และลดการเสียชีวิตของทั้งผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์และคู่กรณีได้ จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 62 ของกลุ่มตัวอย่างอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ที่เสียชีวิตนั้น ผู้ขับขี่ไม่ได้สวมหมวกกันน็อค ในทางตรงกันข้ามกลุ่มตัวอย่างที่ผู้ขับขี่สวมหมวกกันน็อคนั้น เสียชีวิตน้อยกว่าที่ร้อยละ 32 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
แนวทางที่ 2 การหลีกเลี่ยงการชน
หากผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รู้จักหลีกเลี่ยงการชน ก็จะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการบีบแตรให้สัญญาณ ส่วนการใช้เบรกและการหักหลบนั้น แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าการบีบแตรให้สัญญาณ อีกทั้งยังมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่ได้ทำการหลีกเลี่ยงเลย
จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 61 ของกลุ่มตัวอย่างอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ที่เกิดการเสียชีวิต ผู้ขับขี่ไม่ได้หลีกเลี่ยงการชนเลย ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่หักหลบ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เบรก แต่ก็ยังเสียชีวิตนั้น มีจำนวนร้อยละ 13 และร้อยละ 5 ตามลำดับ โดยไม่พบการเสียชีวิตในกลุ่มตัวอย่างที่บีบแตรให้สัญญาณ
ถึงแม้ว่าเราจะสามารถลดอุบัติเหตุได้ด้วยแนวทางดังกล่าว และระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ แต่อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีอาชีพขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ดังนั้น ประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้ที่ทำอาชีพนี้ ก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ในวันที่มีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น
ประกันอุบัติเหตุ พีเอ เดลิเวอรี รับประกันภัยอาชีพที่ต้องขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์
- สามารถเลือกความคุ้มครองได้ 3 แผน
- จ่ายเบี้ยประกันภัยสบาย ๆ เริ่มต้นเพียง 500 บาทต่อปี*
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 5,000 บาทต่อครั้ง**
สนใจทำประกันอุบัติเหตุ พีเอ เดลิเวอรี คลิก
ข้อควรทราบ :
*กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 1
**กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 3
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันสุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ต้องแถลงสุขภาพ การแถลงสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย หรือการจ่ายเงิน ตามสัญญาประกันภัย บริษัทอาจให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติม
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม