หนึ่งในสิ่งที่คนวัย 50 ขึ้นไป กลัวมากที่สุด คือการจากไปโดยไม่ได้ทิ้งมรดกไว้ให้กับครอบครัวและลูกหลาน และอาจกังวลเรื่องค่าทำศพ ที่อาจเป็นภาระของครอบครัวภายหลัง บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ ติดตามอ่านกันได้เลย
เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ
จะสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี หรือที่เรียกว่าเงินค่าทำศพ โดยการช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพ จำนวน 3,000 บาท โดยผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้สูงอายุต้องมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสัญชาติไทย มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เว้นแต่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน ให้ผู้อํานวยการเขต หรือนายอำเภอ หรือกํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือประธานชุมชน เป็นผู้รับรอง รวมถึงผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด ๆ ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการจัดการศพตามประเพณี โดยมูลนิธิ สมาคม วัด มัสยิด โบสถ์
นอกจากเงินสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์แล้ว ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ประกันตามมาตรา 33, 39 และ 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม จะได้รับเงินตามสิทธิกรณีเสียชีวิตด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
สิทธิกรณีเสียชีวิต สำหรับผู้สูงอายุที่ยังเป็นผู้ประกันตนแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- เงินค่าทำศพ โดยภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน จะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
- เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนแต่ไม่ถึง 120 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้เงินสงเคราะห์ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
หมายเหตุ :
มาตรา 33 จะกำหนดอายุของผู้ประกันตนไว้ไม่เกิน 60 ปี แต่หากผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปี ยังประสงค์จะทำงานต่อ โดยมีการจ้างงานต่อเนื่องจากบริษัทเดิม จะยังถือว่าผู้สูงอายุดังกล่าวเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และได้สิทธิทุกประการรวมถึงสิทธิเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต เช่นเดียวกับผู้ประกันตนรายอื่น
มาตรา 39 ไม่ได้มีการจำกัดอายุของผู้ประกันตน ผู้สูงอายุทุกคนที่ยังเป็นผู้ประกันตนมาตรานี้อยู่แม้จะอายุเกิน 60 ปีแล้ว จะได้สิทธิเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่ต้องจ่ายเงินสมทบตามระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้ด้วย
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- เงินค่าทำศพ โดย ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเดือนที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เว้นแต่ กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเดือนที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน จะได้รับค่าทำศพตามการจ่ายเงินสมทบ ดังตารางด้านล่างนี้
ทางเลือกที่ | จำนวนเงินที่จ่ายสมทบ (บาท/เดือน) |
ค่าทำศพ |
---|---|---|
1 | 70 | 25,000 บาท |
2 | 100 | |
3 | 300 | 30,000 บาท |
- เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2 ผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท
หมายเหตุ :
มาตรา 40 จะกำหนดอายุของผู้ประกันตนไว้ไม่เกิน 65 ปี
ประกันสูงวัย
จริง ๆ แล้วประกันสูงวัยมีชื่อเรียกที่หลากหลาย บางคนเรียกว่าประกันผู้สูงอายุ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ หรือประกันอาวุโส ทั้งหมดหมายถึง การคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บให้กับบุคคลที่มีอายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป จนไปถึง อายุ 70 ปี เป็นประกันที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และ ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ
เงื่อนไขการคุ้มครองกรณีเสียชีวิตของประกันสูงวัยแต่ละผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างกัน ตัวอย่างรายละเอียดการคุ้มครองกรณีเสียชีวิตสำหรับประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร เช่น
- การเสียชีวิตทุกกรณีระหว่างปีกรมธรรม์ที่ 1 และ 2 บริษัทจะจ่ายเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วคืน พร้อมเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
- ถ้าเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุระหว่างปีกรมธรรม์ที่ 1 และ 2 และมีผลโดยตรงทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตทันที หรือภายใน 180 วันนับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายเงินเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วคืน พร้อมเงินเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัย
- ถ้าเสียชีวิตตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3-6 บริษัทประกันจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยเต็มจำนวนในทุกกรณี
ข้อควรทราบ :
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
มีสิทธิเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตสำหรับผู้สูงอายุอยู่แล้ว ควรทำประกันสูงวัยหรือไม่
จะเห็นได้ว่า เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ที่สนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี สำหรับผู้สูงอายุ ตามเกณฑ์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นั้นมีจำนวนที่ไม่มากนัก จึงอาจไม่เพียงพอสำหรับการทำศพและเป็นมรดกให้ลูกหลาน อีกทั้งจะจ่ายให้เฉพาะผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งเงื่อนไขในการสมัครค่อนข้างยุ่งยาก โดยมีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ วงเงินกู้ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ส่วนเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตตามสิทธิประกันสังคมนั้น มีจำนวนที่พอประมาณ แต่ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนจะได้สิทธินี้ เพราะมาตรา 33, 39 และ 40 ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ค่อนข้างมาก ดังนั้น การทำประกันผู้สูงวัยไว้ จะเพิ่มเติมสิทธิที่ผู้สูงอายุจะได้รับตามที่กล่าวมาข้างต้นได้ เพียงเลือกเบี้ยประกันภัยและจำนวนเอาประกันให้เหมาะสม ไม่เป็นภาระทั้งต่อตัวเอง และลูกหลาน ก็จะช่วยลดความกังวลของผู้สูงอายุในอนาคตได้
“ประกันสูงวัยจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร
ประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท ซีเนียร์ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) ”
ขอทำประกันง่าย ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ คลิก
อ้างอิง :
มาตรา 73(2) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)