เป็นเบาหวาน เสี่ยงเจอโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง

เบาหวาน


โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง NCDs ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก ยิ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลและควบคุมอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อทั้งแขนขา ดวงตา ไต ไปจนถึงสมองได้ บทความนี้จะพาทุกคนไปสำรวจถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงแนะนำประกันโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมกลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานด้วย

โรคเบาหวานคืออะไร

ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง เนื่องจากความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยเมื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) แล้วจะมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

โรคเบาหวานมีด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ อาจเกิดจาก โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกอาจไม่เด่นชัดมากนัก แต่หากน้ำตาลในเลือดสูง อาจหิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย และอ่อนเพลียง่าย ยิ่งถ้ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนาน ๆ  โดยไม่ได้รับการรักษา อาจมีน้ำหนักตัวลดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

ส่วนใหญ่แล้ว มักไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานระยะแรก ๆ  เพราะภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นเมื่อป่วยด้วยโรคเบาหวานประมาณ 5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ที่เมื่อวัดปริมาณน้ำตาลที่ปลายนิ้วแล้วมีปริมาณต่ำเพียง 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ผู้ป่วยจะมีอาการมือสั่น ใจสั่น สับสน หิว เหงื่อออก ไปจนถึงแขนขาไม่มีแรง และชักได้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบคีโตอะซิโดสิส

เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 200 มิลลิกรัม / เดซิลิตร พร้อมภาวะกรดคีโตนคั่ง

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบไฮเปอร์ไกลออสโมล่าร์

เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 600 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และมีออสโมลาริตีในเลือดสูง อีกทั้งผู้ป่วยจะรู้สึกตัวน้อยลง

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทั้ง 2 แบบจะคล้ายคลึงกัน โดยผู้ป่วยจะรู้สึกคลื่นไส้ ปัสสาวะมาก หอบเหนื่อย ซึม ปวดท้อง ไปจนถึงชักหรือหมดสติ

  • ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา

หรือที่เรียกกันว่า “เบาหวานขึ้นตา” เป็นภาวะแทรกซ้อนในหลอดเลือดขนาดเล็ก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาในขณะที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การหักเหของเลนส์ตาผิดปกติ ส่งผลให้สายตามัว เห็นเงาดำ หรือภาพซ้อน หรือในรายที่เป็นมาก อาจถึงขั้นตาบอดได้

  • ภาวะแทรกซ้อนที่ไต

เป็นภาวะแทรกซ้อนในหลอดเลือดขนาดเล็กเช่นกัน โดยในผู้ป่วยระยะแรก แม้จะไม่มีอาการให้เห็นเด่นชัด  แต่หากแพทย์ส่งตรวจระดับโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ จะพบว่ามีปริมาณเล็กน้อยประมาณ 30-300 มิลลิกรัมต่อวัน หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะพบปัสสาวะมีฟอง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากปริมาณโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะสูงเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน และถ้าผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีก การทำงานของไตจะลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท

ในระยะแรกเริ่มของภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนในหลอดเลือดขนาดเล็ก ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน หรือเจ็บเหมือนถูกแทงด้วยของแหลม บริเวณปลายมือและปลายเท้าทั้งสองข้าง โดยส่วนใหญ่อาการมักจะเกิดตอนกลางคืน ในระยะต่อมาอาการปวดจะลดลง แต่จะรู้สึกชาแทน นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงได้

ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท ถือเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานได้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

เป็นภาวะแทรกซ้อนบริเวณหลอดเลือดขนาดใหญ่ ถือว่าค่อนข้างรุนแรง เพราะเมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจลดลง เกิดหัวใจวาย เสียชีวิตเฉียบพลันได้

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มเติม คลิก

  • โรคหลอดเลือดสมอง

เป็นภาวะแทรกซ้อนบริเวณหลอดเลือดขนาดใหญ่บริเวณสมอง โดยเมื่อเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบ จะทำให้เส้นประสาทในสมองขาดเลือด ส่งผลให้สมองไม่ทำงาน เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการชาครึ่งซีก

  • โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน 

ถือเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานเช่นเดียวกับภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท แต่เกิดกับหลอดเลือดขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณขา ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดขามากเมื่อเดินหรือวิ่ง ปลายเท้าเย็น ขนขาร่วง ผิวหนังบริเวณขาเงามัน หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาอาจทำให้ปลายเท้าขาดเลือด ติดเชื้อ จนต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาทิ้งในที่สุด

แม้โรคเบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ทำให้เสียชีวิตแบบฉับพลันทันทีบ่อยนัก แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย และผู้ป่วยต้องอดทนต่อการรักษาพยาบาลมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทางที่ดี ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพและน้ำตาลในเลือดอยู่เป็นประจำ และรับประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดโรคเบาหวาน รวมถึงทำประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานเอาไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากอายุที่มากขึ้น เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ แม้ว่าจะดูแลสุขภาพดีมากแล้วก็ตาม

คุ้มครองโรคเบาหวาน ด้วยประกันโรคร้ายแรง โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) คุ้มครองครอบคลุม 120 โรคร้ายแรง สูงสุด 700%  คุ้มครอง 6 กลุ่มโรคร้ายแรง และกลุ่มความคุ้มครองพิเศษของโรคมะเร็ง เคลมได้สูงสุด 100% ต่อกลุ่มโรค

  • มีความคุ้มครองกลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ทั้งระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง เคลมได้ สูงสุด 100%
  • เมื่อเคลมกลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานครบ 100% หากพบโรคร้ายแรงกลุ่มอื่น โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) ยังคงให้ความคุ้มครองต่อโดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย

สนใจทำประกันโรคร้าย โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120)คลิก

 

ข้อควรทราบ : 

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • สัญญาเพิ่มเติม มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ สุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติมเมื่อเห็นว่าจําเป็น
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันสุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ที่ปรึกษาประกันชีวิต (ตัวแทนประกันชีวิต)มาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

สิทธิพิเศษที่เกี่ยวข้อง

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ปิดระบบวันเสาร์ ที่ 27 มกราคม 2567 ช่วงเวลา 20.00 ถึง 23:00 น.
I want to search about