“Fed” ขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ และผลกระทบต่อไทย

Fed ขึ้นดอกเบี้ย


ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนบนโลก การขยับของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ก็ยังส่งผลกระทบต่อเราทุกคนอยู่ดี ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันอย่างวงการอาหาร เทรนด์แฟชั่น การพัฒนาเทคโนโลยี ไปจนถึงเรื่องการเงินและเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบในเชิงมหภาค โดยเฉพาะนโยบายจาก Fed ที่แม้จะได้ชื่อว่าเป็นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา แต่เป็นที่จับตามองจากทุกประเทศทั่วโลก


รู้จักกับ “Fed”

Fed หรือ เฟด เป็นชื่อย่อของ "Federal Reserve" ซึ่งเป็นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเงินและเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างสมดุล มั่นคง และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ


ทำไม “Fed” ถึงขึ้นดอกเบี้ย

จริง ๆ แล้ว สาเหตุที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนั้นมีหลายประการด้วยกัน แต่นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 10 ครั้ง จนปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 22 ปี เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกามีความรุนแรง โดยในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีของสหรัฐอเมริกาสูงถึง 8% ก่อนจะลดลงเหลือ 3.7% ในเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาจากมาตรการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed

โดยการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาชะลอตัว เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ต้องการจ่ายดอกเบี้ยสินเชื่อในอัตราที่สูง หรือในอีกกรณี คือ ไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารและสถาบันการเงิน เนื่องจากมาตรการปล่อยสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้อัตราการจ้างงานในสหรัฐอเมริกาต่ำลงด้วย


ผลกระทบที่ไทยได้รับจากการขึ้นดอกเบี้ย

โดยปกติ นักลงทุนจะเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากประเทศที่ ”อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า” ไปลงทุนในประเทศที่ ”อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า” ซึ่งประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา จึงมีความเสี่ยงที่เงินทุนจะไหลออกจากไทยไปสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าแทน 

สำหรับนักลงทุนนั้น ควรระมัดระวังการลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาว กลุ่มกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หุ้นกลุ่มเติบโต และบิตคอยน์

นอกจากนั้น การขึ้นดอกเบี้ย ยังส่งผลให้ความต้องการในการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มสูงขึ้น เงินดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่าขึ้นด้วย ทำให้ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวลง ผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าจะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยการนำเข้าสินค้าจะต้องใช้เงินบาทมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกสินค้านั้น แม้จะได้เงินมากขึ้นตามไปด้วย แต่ความต้องการสินค้าของสหรัฐอเมริกาอาจต่ำลง เพราะธุรกิจต่าง ๆ ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนได้

อย่างไรก็ตามจากการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน 2566 แม้จะมีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% แต่คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed (Dot Plot) ในการประชุมดังกล่าวมีการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งภายในปีนี้ และจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานขึ้นกว่าที่เคยคาดไว้ในการประชุมครั้งก่อน (Higher for Longer) ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในอนาคต รวมถึงอาจจะเป็นปัจจัยที่คอยกดดันราคาของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกด้วย

เตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนและความผันผวนในโลกการเงินการลงทุนที่คาดว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกระยะ  หนึ่ง ด้วยประกันสะสมทรัพย์ ที่สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์รีเทิร์น 10/5 ที่ให้ผลตอบแทนสูงตั้งแต่ปีแรก

  • รับเงินคืน 20% ทุกปี ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 - 6
  • รับเงินคืน 100% ทุกปี ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 7 - 9
  • รวมผลประโยชน์ตลอดสัญญา สูงสุด 560%

ลดหย่อนได้ 1 แสน ไม่ต้องรอนาน 8 ปี ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด

ทำประกัน โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5คลิก

ข้อควรทราบ : 

 

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • โอเชี่ยนไลฟ์ออมสบาย 10/5 เป็นชื่อทางการตลาดของไทยสมุทรออมสบาย 10/5
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร 
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น

ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

อ้างอิง : https://www.statista.com/statistics/273418/unadjusted-monthly-inflation-rate-in-the-us/

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี อ้างอิงจาก https://www.minneapolisfed.org/about-us/monetary-policy/inflation-calculator/consumer-price-index-1913-

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

I want to search about