การเลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี แต่การเลือกประกันนอนโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลากหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนั้น ประกันแต่ละแบบยังมีรายละเอียดและความคุ้มครองที่แตกต่างกันอีกด้วย
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จัก 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเลือกประกันนอนโรงพยาบาลที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการคุ้มครองที่ครอบคลุมและคุ้มค่าในยามที่ต้องการมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 1 : เช็กสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของตนเอง
1. สวัสดิการจากสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท
หากไม่มีสวัสดิการสำหรับข้าราชการ และประกันสังคม คนไทยทุกคนสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาทได้ โดยต้องลงทะเบียนเลือกสถานพยาบาลประจำตัว แต่ก็สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลปฐมภูมิของภาครัฐอื่น ๆ ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันควร เช่น ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สถานพยาบาลของรัฐโดยส่วนใหญ่มักมีผู้มาใช้บริการหนาแน่น จึงต้องใช้เวลารอตรวจค่อนข้างนาน สำหรับการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น เนื่องจากห้องพักเดี่ยวในโรงพยาบาลรัฐบาลมีจำกัด จึงอาจต้องนอนพักในห้องผู้ป่วยรวม ซึ่งความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวจะน้อยกว่า
2. สวัสดิการจากประกันสังคม
ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท หรือทำอาชีพอิสระ หากสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตราต่าง ๆ และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามเงื่อนไข ก็จะสามารถใช้สิทธินอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ผู้ประกันตนมักจะเลือกโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากผู้ใช้บริการน้อยกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม สวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกันตนย้ายที่อยู่ หรือที่ทำงาน ก็อาจจะไม่สะดวกไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้ได้ นอกจากนั้น กรณีที่มีเหตุอันควรเกิดขึ้นเมื่ออยู่ไกลจากโรงพยาบาลดังกล่าว เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด ท้องเสีย ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น จะไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ๆ ได้เลย
สิทธิประกันสังคมให้ความคุ้มครองค่าห้องและค่าอาหารไม่มากนัก โดยคุ้มครองเท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินวันละ 700 บาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่ค่าห้องและค่าอาหารในโรงพยาบาลเอกชนมักสูงกว่านี้ ยิ่งถ้านอนพักรักษาตัวหลายวัน ก็อาจต้องจ่ายส่วนต่างค่าห้องและค่าอาหารในจำนวนไม่น้อย
3. สวัสดิการจากองค์กรหรือบริษัทที่สังกัดอยู่
แต่ละองค์กรจะมีสวัสดิการสำหรับกรณีที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบประกันกลุ่ม ที่สามารถใช้ได้กับโรงพยาบาลเอกชนทุกที่ แต่จะกำหนดค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเงินต่อวัน เช่น ค่าห้องและค่าอาหารสำหรับการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 4,000 บาท/วัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความคุ้มครองของประกันกลุ่มอาจน้อยกว่าตัวอย่างข้างต้นมาก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่ม นอกจากนั้น กฏหมายไม่ได้กำหนดให้ทุกองค์กรต้องให้สวัสดิการประกันกลุ่มแก่ลูกจ้าง
ขั้นตอนที่ 2 : เช็กประวัติการป่วยของตัวเองย้อนหลัง 1 ปี
สำรวจอาการเจ็บป่วยของตัวเอง เพื่อประเมินว่าประกันนอนโรงพยาบาลแบบใดที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น
- ป่วยด้วยโรคประจำตัว, โรคที่เกิดจากการทำงาน, โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น โรคภูมิแพ้ ไมเกรน ปวดเมื่อยร่างกายจากการทำงานนาน ๆ เป็นต้น ซึ่งมักเป็นอาการป่วยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล อาจไม่จำเป็นต้องมีประกันสำหรับนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่อาจต้องมีประกันผู้ป่วยนอก (OPD)
- ป่วยด้วยโรคตามฤดูกาล เช่น โรคหวัดทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ ผดผื่นจากอากาศร้อน เป็นต้น ในบางราย โรคไข้หวัดใหญ่ก็อาจรุนแรงจนถึงขั้นต้องทำให้นอนโรงพยาบาลได้ จึงควรมีประกันนอนโรงพยาบาลติดตัวไว้บ้าง
- ป่วยด้วยเหตุไม่คาดฝัน เช่น อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น แม้จะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ และเป็นเมื่อไร แต่หากเป็นโรคดังกล่าวมาก่อน ก็จะสามารถประมาณค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ ทำให้เลือกแพ็กเกจประกันนอนโรงพยาบาลที่เหมาะกับตนเองได้
ขั้นตอนที่ 3 : เช็กค่าห้องพักและอาหารของโรงพยาบาลใกล้ที่พัก และที่ทำงาน
แต่ละโรงพยาบาลมีอัตราค่าห้องพักและอาหารไม่เท่ากัน โดยบางโรงพยาบาล จะคิดค่าอาหารแยกต่างหาก จึงควรตรวจสอบให้รอบด้านก่อนเลือกประกันนอนโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีสวัสดิการใด ๆ เลย
ตัวอย่าง
นาย A เป็นพนักงานออฟฟิศ ต้องเดินทางด้วยรถประจำทางอยู่เป็นประจำ ช่วงหน้าฝนที่โรคไข้หวัดใหญ่ระบาด นาย A มักเจ็บป่วยจากการติดเชื้อนี้จนต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเกือบทุกปี นาย A มีสิทธิใช้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม ที่ครอบคลุมค่าห้องพักและอาหารจำนวน 700 บาท/วัน อีกทั้ง นาย A ยังมีสวัสดิการประกันกลุ่มจากบริษัทที่สังกัดอยู่ โดยมีค่าห้องพักและอาหาร 2,000 บาท/วัน
โรงพยาบาลที่นาย A เลือกใช้สิทธิประกันสังคม เป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน แต่มีค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง โดยค่าห้องพักและอาหารขั้นต่ำของโรงพยาบาลแห่งนี้สูงถึงวันละ 4,500 บาท
ดังนั้น แม้ว่านาย A จะมีทั้งสวัสดิการจากประกันสังคมและองค์กรที่สังกัดอยู่ แต่ยังมีส่วนต่างค่าห้องพักและอาหารอีก 1,800 บาท/วัน ที่ต้องจ่ายเพิ่ม หากต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้น นาย A จึงควรมีประกันนอนโรงพยาบาลติดตัวไว้ แต่อาจไม่จำเป็นต้องเลือกแผนที่ให้ความคุ้มครองสูงที่สุด เนื่องจากมีสวัสดิการอยู่บ้าง
เลือกประกันนอนโรงพยาบาลให้ตัวเองแบบง่าย ๆ กับโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า ประกันสุขภาพที่เหมาะกับทุกคน ไม่ว่าจะมีสวัสดิการหรือไม่มีเลยก็ตาม
- เลือกทำประกันนอนโรงพยาบาลแบบมีความรับผิดชอบส่วนแรก ใช้สวัสดิการที่มีก่อน แล้วที่เหลือให้โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ช่วยดูแล
- เลือกทำประกันนอนโรงพยาบาลแบบไม่มีความรับผิดชอบส่วนแรก สำหรับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการสุขภาพเลย
ทำประกันโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า คลิก
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติมเมื่อเห็นว่าจําเป็น
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติม/บันทึกสลักหลังมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม/บันทึกสลักหลังได้ ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย หรือให้ผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ สุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทอั
- เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกัน สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ที่ปรึกษาประกันชีวิต (ตัวแทนประกันชีวิต) มาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม