การมีสุขภาพที่ดีคือสิ่งสำคัญที่ทุกคนปรารถนา แต่ในบางครั้งโรคประจำตัวอาจกลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตและการวางแผนด้านการเงิน เนื่องจากค่ารักษาในการเจ็บป่วยอาจสูงกว่าที่คิด หลาย ๆ คนจึงอยากใช้ “ประกันสุขภาพ” ในการปิดความเสี่ยงด้านนี้ อย่างไรก็ตาม การทำประกันสุขภาพเมื่อมีโรคประจำตัวนั้น อาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากการทำประกันสุขภาพสำหรับคนที่ไม่ได้ป่วย วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต จะพาไปสำรวจตัวอย่างเงื่อนไขต่าง ๆ ที่บริษัทประกันชีวิตจะนำมาพิจารณารับทำประกันสุขภาพ
กลุ่มโรคทั่วไป
เป็นกลุ่มโรคที่บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งจะพิจารณารับทำประกันสุขภาพแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประวัติการรักษา พฤติกรรมของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค เช่น หากเคยเป็นมานานมากแล้ว และรักษาจนหายขาดมากกว่า 5 ปี บริษัทฯ อาจรับประกัน โดยให้ความคุ้มครองตามปกติ
แต่หากยังทำการรักษาอยู่เป็นประจำ และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหายขาด บริษัทฯ อาจยังไม่รับประกัน หรือรับประกันโดยให้ความคุ้มครองโรคอื่น ๆ แต่ยกเว้นโรคที่เป็นมาก่อนรวมถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคนั้น ๆ ด้วย ในบางกรณีบริษัทฯ อาจให้ความคุ้มครอง แต่ผู้ขอเอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษเนื่องจากสุขภาพ
นอกจากนั้น ในกรณีที่ยังดำเนินการรักษาอยู่ แต่มีแนวโน้มที่จะหายขาดในระยะเวลาไม่นานมากนัก บริษัทฯ อาจขอเลื่อนการรับประกันออกไปประมาณ 6 เดือน - 1 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันของแต่ละบริษัทฯ
ตัวอย่างโรคทั่วไป
- ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
- ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine)
- ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
- ริดสีดวงทวาร (Haemorrhoids)
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc)
กลุ่มโรคประจำตัวประเภทโรคเรื้อรัง NCDs
เป็นกลุ่มโรคที่มักรักษาไม่หายขาด และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากอาจต้องรักษาไปตลอดชีวิต บริษัทประกันชีวิตจึงมักปฏิเสธการรับประกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ อาจรับประกันโดยให้ความคุ้มครองโรคอื่น ๆ แต่ไม่คุ้มครองเฉพาะโรคเรื้อรัง NCDs ที่เป็นอยู่ รวมถึงมีข้อกำหนดเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคนั้น ๆ ด้วย
ตัวอย่างโรคประจำตัวประเภทโรคเรื้อรัง NCDs
- โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคหัวใจและหลอดเลือด (Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease)
- โรคอ้วน (Obesity)
- โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease)
- โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
กลุ่มโรคทางจิตเวช
โรคทางจิตเวชถือว่าเป็นโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูง ที่ผู้ป่วยอาจกลับมาเป็นอีกครั้ง ทำให้มักไม่ได้รับการอนุมัติให้ทำประกันสุขภาพ แต่หากมีการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าหายเป็นปกติดีแล้ว ก็สามารถยื่นใบคำขอทำประกันสุขภาพได้ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทประกันชีวิต โดยบริษัทฯ อาจคุ้มครองแค่โรคอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชที่เคยเป็นมาก่อน เพิ่มข้อยกเว้นเกี่ยวกับโรคดังกล่าว หรือมีเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามา
นอกจากนั้น ผู้ที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ส่วนมากบริษัทประกันชีวิตจะไม่ให้ความคุ้มครองอยู่แล้วตามข้อยกเว้นทั่วไปภายใต้กรมธรรม์
ตัวอย่างโรคทางจิตเวช
- โรคซึมเศร้า (Depression)
- โรคอารมณ์แปรปรวนชนิดสองขั้ว หรือไบโพลาร์ (ฺBipolar Disorder)
- โรคจิตเภท (Schizophrenia)
- โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
- โรคสมองเสื่อม (Dementia)
กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัสนั้น มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียและพยาธิ แม้จะรักษาหายขาดได้ แต่อาจใช้ระยะเวลายาวนานเป็นปีหรือมากกว่านั้น โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่บริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครอง ตามข้อยกเว้นทั่วไป ของมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ (New Health Standard)
ตัวอย่างโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- โรคเอดส์ (AIDS) และ การติดเชื้อ HIV
- ซิฟิลิส (Syphilis)
- หนองใน (Gonorrhoea)
- เริม (Herpes)
- หูดหงอนไก่ (Genital warts)
จะเห็นได้ว่า หากเป็นโรคประจำตัวประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว มีโอกาสที่บริษัทประกันชีวิตจะไม่รับประกัน หรือแม้ว่าจะพิจารณารับประกัน แต่จะมีเงื่อนไขในการคุ้มครองตามมาด้วย ดังนั้น หากสุขภาพร่างกายยังแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ ควรทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ เนื่องจากโอกาสที่บริษัทฯ จะรับประกันนั้นมีมากกว่า และเมื่อถึงวันที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ประกันสุขภาพยังให้ความคุ้มครองโรคประจำตัวบางโรคอีกด้วย แต่ต้องตรวจสอบเงื่อนไขกับบริษัทประกันชีวิตก่อนการทำประกันสุขภาพเสมอ เพราะการรับประกันนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของของแต่ละบริษัทฯ
นอกจากนั้น หากมีโรคประจำตัว แต่ต้องการทำประกันสุขภาพ ควรแถลงสุขภาพในคำขอทำประกันตามความเป็นจริง เพราะหากปกปิดแล้วบริษัทประกันชีวิตได้ทราบภายหลัง อาจทำให้ไม่สามารถเคลมประกัน หรืออาจถูกบอกล้าง หรือบอกเลิก หรือไม่ต่อสัญญาปีต่อไป
สนใจทำประกันสุขภาพกับ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต แนะนำ ประกันโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน แบบเหมาจ่ายสูงสุด 5 ล้านบาทต่อครั้ง*
และควรเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) คุ้มครองครอบคลุม 120 โรคร้ายแรง สูงสุด 700% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เคลมครบกลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่งไม่ต้องจ่ายเบี้ยต่อ**
หากไม่แน่ใจว่าโรคประจำตัวจะส่งผลกระทบต่อการทำประกันสุขภาพหรือไม่ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร.1503 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-17.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ข้อควรทราบ :
* เมื่อทำประกันสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra) แผน 3
** ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรงครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่งแล้ว บริษัทจะยกเว้นเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้ จนกว่าสัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้จะสิ้นผลบังคับ
- โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
- โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) เป็นชื่อทางการตลาดของ สัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120)
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันสุขภาพ ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัท นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพ ให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม