รวมเงื่อนไข “ลดหย่อนภาษี บิดามารดา” ที่ต้องรู้ก่อนยื่นภาษี

ลดหย่อนพ่อแม่

 

ใกล้ถึงฤดูเสียภาษีกันอีกแล้ว หลาย ๆ คนคงกำลังตรวจสอบค่าลดหย่อนภาษีแบบต่าง ๆ กันอยู่ ซึ่งค่าลดหย่อนแต่ละแบบต่างก็มีรายละเอียดที่ซับซ้อน วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทร จึงอยากชวนทุกคนมาทบทวนเงื่อนไข “ลดหย่อนพ่อแม่” ซึ่งเป็นค่าลดหย่อนที่ชวนให้สับสนไม่น้อย

โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงเงื่อนไข “ลดหย่อนพ่อแม่” 2 ประเภท คือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา และค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

 

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

  1. การหักค่าลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
  2. หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
  3. บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ (ไม่จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับผู้มีเงินได้)
  4. บิดามารดามีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ไม่เกิน 30,000 บาท 
  5. ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา เช่น บิดามารดาจดทะเบียนสมรส, บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น โดยบุตรบุญธรรมไม่สามารถนำบิดามารดาซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้
  6. หากผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในไทย ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ในแบบแสดงรายการฯ ด้วย ในกรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว หากเข้าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) และได้ขอมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรประกอบแบบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03)  ใช้เป็นหลักฐานประกอบการหักลดหย่อนได้
  7. กรณีบิดามารดามีบุตรหลายคน ให้บุตรเพียงคนเดียวที่มีหนังสือรับรองฯ (แบบ ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน อย่างไรก็ตาม บุตรสามารถตกลงกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในแต่ละปีภาษีสลับกันได้  เช่น บุตรคนที่ 1 ปีนี้ใช้สิทธิลดหย่อนบิดา ปีหน้าจะใช้สิทธิลดหย่อนมารดา ส่วนบุตรคนที่ 2 ปีนี้ใช้สิทธิลดหย่อนมารดา ปีหน้าจะใช้สิทธิลดหย่อนบิดา เป็นต้น
  8. การหักค่าลดหย่อนบิดามารดา ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้น จะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

 

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท

นอกจากนั้น กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันทำประกันสุขภาพสำหรับบิดา-มารดา  ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยเฉลี่ยเบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้ร่วมกันจ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้

การประกันสุขภาพบิดามารดา ต้องมีลักษณะดังนี้

  1. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เช่น ประกันโอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า ให้ผลประโยชน์กรณีเป็นผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ ค่าการบำบัดรักษาโรคเนื้องอกหรือมะเร็งโดยรังสีรักษา เป็นต้น
  2. การประกันภัยอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก เช่น ประกันอุบัติเหตุ เลือกง่าย ได้เพิ่ม แผนความคุ้มครองจัดเต็ม คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุทั่วไป กรณีขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ รวมถึงการสูญเสียอวัยวะและสายตา เป็นต้น
  3. การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses) เช่น สัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) ให้ความคุ้มครอง 6 กลุ่มโรคร้ายแรง และ 1 กลุ่มความคุ้มครองพิเศษ รวมสูงสุดถึง 120 โรคร้ายแรง เป็นต้น
  4. การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

ใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพสำหรับ “ลดหย่อนพ่อแม่” คลิก https://oceanlifeth.co/MXT94xJY

 

ข้อควรทราบ : 

  • โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติม
  • คุ้มครองสุขภาพเอ็นจอย เฮลท์ เอ็กซ์ตร้า (Enjoy Health Extra)
  • ประกันอุบัติเหตุเลือกง่าย ได้เพิ่ม เป็นชื่อทางการตลาดของ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ เลือกง่าย ได้เพิ่ม
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด 
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันสุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้อง  แจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

อ้างอิง : 

https://www.rd.go.th/557.html
https://www.rd.go.th/60056.html
https://www.rd.go.th/60058.html

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

OCEAN LIFE ไทยสมุทร รับรางวัลการสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืน
I want to search about