เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG Fund) ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร จึงอยากชวนทุกคนมารู้จักกองทุน TESG ที่แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับเตรียมตัวเสียภาษีในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2568
สำหรับใครที่อยากลดหย่อนภาษี ที่ความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุน TESG อีกทั้งยังได้ออมเงิน พร้อมผลประโยชน์ในการคุ้มครองชีวิต
ลดหย่อนได้ 1 แสน ไม่ต้องรอนาน 8 ปี ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด
กองทุน TESG คืออะไร
กองทุน TESG (Thailand ESG Fund) หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน คือ กองทุนที่มุ่งเน้นลงทุนในกิจการที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนตามหลักสากล (ESG) โดยคำนึงถึงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และหลักธรรมาภิบาล (Governance) เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
กองทุน TESG ลงทุนในทรัพย์สินอะไรบ้าง
- หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) ที่ได้รับการคัดเลือกจาก SET ว่ามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (environment) หรือด้านความยั่งยืน (ESG) และหรือ
- หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET และ mai ที่มีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แผนการจัดการ และการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ที่ผ่านการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยผู้ทวนสอบ และหรือ
- ตราสารหนี้ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน(1) และโทเคนดิจิทัลเพื่อการระดมทุนที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืนที่มีมาตรฐานในทำนองเดียวกันกับตราสารหนี้ดังกล่าว
หลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษีของกองทุน TESG
ผู้ลงทุนในกองทุน TESG สามารถนำเงินลงทุน มาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีที่มีการลงทุน โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุน TESG ไม่น้อยกว่า 8 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
การลดหย่อนภาษีในกองทุน TESG นั้น แยกออกจากการลดหย่อนภาษีประเภทอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด นอกจากนั้น เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีอีกด้วย
กองทุน TESG vs SSF vs RMF ต่างกันอย่างไร
กองทุน | TESG | SSF | RMF |
---|---|---|---|
ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร | ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับประกันบำนาญ และ กองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ แล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท |
ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับประกันบำนาญ และ กองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ แล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท |
ปีที่ใช้ลดหย่อนภาษี | ปี 2566 เป็นต้นไป | ปี 2563-2567 | ปี 2544 เป็นต้นไป |
ระยะเวลาลงทุน | อย่างน้อย 8 ปีนับจากวันที่ซื้อ | อย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ | อย่างน้อย 5 ปี นับจากวันที่ซื้อครั้งแรก ขายได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ |
ความต่อเนื่องในการลงทุน | ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี | ต้องลงทุนต่อเนื่อง อย่างน้อยปีเว้นปี |
|
เงินปันผล | มี/ไม่มีเงินปันผล | ไม่มีเงินปันผล | |
เหมาะกับใคร | - มีรายได้สูง จึงต้องการวงเงินลดหย่อนเพิ่มเติม - ต้องการออมเงินระยะยาว |
- มีรายได้ปานกลาง-สูง จึงต้องการลดหย่อนภาษี - ต้องการออมเงินระยะยาว |
- มีรายได้ปานกลาง-สูง จึงต้องการลดหย่อนภาษี - ต้องการออมเงินเพื่อเกษียณอายุ |
นอกจากกองทุน TESG, SSF และ RMF แล้ว ยังมีตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ อีก เช่น ประกันลดหย่อนภาษี โดย OCEAN LIFE ไทยสมุทร มีประกันลดหย่อนภาษีให้เลือกมากมาย คลิก
ลดหย่อนได้ 1 แสน ไม่ต้องรอนาน 8 ปี ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด
ข้อควรทราบ :
- (1) ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน ประกอบด้วย Green bond Sustainability bond และ Sustainability-linked bond
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้งเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :