สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวัน (DAB Extra)
พักฟื้นสบายใจ
รับค่าชดเชยรายวันเมื่อเป็นผู้ป่วยใน
ในโรงพยาบาลสูงสุด วันละ 4,500* บาท
นานสูงสุด 1,500 วัน**
รับค่าชดเชยรายวันมากขึ้น
เมื่อนอนห้อง ICU
รับค่าชดเชยรายวัน 3 เท่าต่อวัน
เมื่อเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
ในห้องผู้ป่วยวิกฤต (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน
ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง)
คลายความกังวล
หากเกิดโรคร้ายแรง
รับค่าชดเชย 10 เท่าต่อครั้ง
หากเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล
เนื่องจาก 15 โรคร้ายแรง***
ข้อมูลแบบประกัน
อายุรับประกันภัย
จำนวนเงินเอาประกันภัย
งวดการชำระเบี้ยประกันภัย
การตรวจสุขภาพ
ผลประโยชน์และความคุ้มครอง
ความคุ้มครอง | ผลประโยชน์รายวัน (บาท) | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
500 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | 4,500 | |
1. ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล 1.1 กรณีเข้าพักรักษาตัวในห้องทั่วไป สำหรับการเข้าพักรักษาตัวในประเทศไทย หรือประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ หรือ |
500 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,500 | 4,500 |
1.2 กรณีเข้าพักรักษาตัวในห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Inpatient Room) สำหรับการเข้าพักรักษาตัวในประเทศไทยหรือประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ (สูงสุด 365 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง) หรือ |
1,500 | 3,000 | 4,500 | 6,000 | 7,500 | 9,000 | 10,500 | 12,000 | 13,500 |
1.3 กรณีเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลต่างประเทศ**** ที่มิใช่ประเทศไทย หรือประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ (ก.) ไม่เกิน 30 วันแรก ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง |
1,500 | 3,000 | 4,500 | 6,000 | 7,500 | 9,000 | 10,500 | 12,000 | 13,500 |
(ข.) ตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไป ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง | 500 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | 4,500 |
2. ค่าชดเชยกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลโดยมีการผ่าตัดใหญ่***** สำหรับผู้ป่วยใน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง |
5,000 | 10,000 | 15,000 | 20,000 | 25,000 | 30,000 | 35,000 | 40,000 | 45,000 |
3. ค่าชดเชยกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในเนื่องจากโรคร้ายแรง*** ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง |
5,000 | 10,000 | 15,000 | 20,000 | 25,000 | 30,000 | 35,000 | 40,000 | 45,000 |
3.1 โรคมะเร็งระยะลุกลาม 3.2 โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 3.3 ภาวะโคม่า 3.4 การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 3.5 กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 3.6 การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ 3.7 แผลไหม้ฉกรรจ์ 3.8 การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง |
3.9 การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก 3.10 โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง 3.11 โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3.12 การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า 3.13 สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส 3.14 โรคโปลิโอ 3.15 โรคเท้าช้าง |
||||||||
4. ค่าชดเชยกรณีมีค่าใช้จ่ายหมวดค่ายาสำหรับกลับบ้าน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง |
500 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | 4,500 |
จำนวนวันที่จ่ายตามข้อ 1. รวมกันจะต้องไม่เกิน 1,500 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง |
เงื่อนไขการรับประกันภัย
เงื่อนไขข้อยกเว้นที่สัญญาเพิ่มเติมจะไม่ให้ความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่บริษัทออกให้ผู้เอาประกันภัย โดยเงื่อนไขข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงื่อนไขข้อยกเว้นความคุ้มครอง เช่น
1) ภาวะที่เป็นผลจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด หรือระบบการสร้างอวัยวะของร่างกายไม่สมบูรณ์แต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติในการพัฒนาการของร่างกาย เว้นแต่ สัญญาเพิ่มเติมนี้มีผลคุ้มครองมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (1 ปี) และปรากฏอาการหลังผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 16 ปี
2) การตรวจรักษา หรือการผ่าตัดเพื่อเสริมสวย หรือการแก้ไขปัญหาผิวพรรณ สิว ฝ้า กระ รังแค ผมร่วง หรือการควบคุมน้ำหนักตัว การผ่าตัดที่สามารถทดแทนด้วยการรักษาแนวทางอื่น เว้นแต่เป็นการตกแต่งบาดแผลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่ได้รับความคุ้มครอง
3) การรักษาหรือการบำบัดการติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
4) การตั้งครรภ์ แท้งบุตร ทำแท้ง การคลอดบุตร โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก (รวมถึงการสืบวิเคราะห์ และการรักษา) การทำหมันหรือการคุมกำเนิด ยกเว้น มะเร็งครรภ์ไข่ปลาอุก(Choriocarcinoma)
5) การฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตาย การทำร้ายร่างกายตนเอง หรือการพยายามทำร้ายร่างกายตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยตนเอง หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างวิกลจริตหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ รวมถึงอุบัติเหตุจากการที่ผู้เอาประกันภัย กิน ดื่ม หรือฉีดยาหรือสารมีพิษเข้าร่างกาย การใช้ยาเกินกว่าที่แพทย์สั่ง
- สำหรับการป่วยใด ๆ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 30 วัน
- สำหรับการป่วยเนื่องจาก ริดสีดวงทวาร, การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์, ไส้เลื่อนทุกชนิด, นิ่วทุกชนิด, ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 120 วัน
- สำหรับผลประโยชน์ค่าชดเชยกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในเนื่องจากโรคร้ายแรง ซึ่งแพทย์ยืนยันและมีหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 90 วัน
Q : กรณีเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศและเกิดการบาดเจ็บหรือป่วย เป็นเหตุให้ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลต่างประเทศที่มิใช่ประเทศไทยหรือประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ เป็นเวลา 40 วัน บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์อย่างไร?
A: บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์เป็นสามเท่าของจำนวนเงินที่แสดงไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ สำหรับ 30 วันแรก ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และตั้งแต่วันที่ 31 จนถึงวันที่ 40 ที่เข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์เป็นหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่แสดงไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์
Q : กรณีเข้าพักรักษาตัวในห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Inpatient Room) สำหรับการเข้าพักรักษาตัวในประเทศไทยหรือประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์อย่างไร?
A : บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์เป็นสามเท่าของจำนวนเงินที่แสดงไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ โดยจ่ายสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และจะจ่ายผลประโยชน์เป็นหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่แสดงไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่วันที่ 366 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รวมทั้งหมดสูงสุดไม่เกิน 1,500 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
Q : สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวัน (DAB Extra) สามารถขอทำพร้อมกับสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายได้ เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ (DAB) หรือขอทำพร้อมกับสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายได้รายวัน (DAB2) ในกรมธรรม์ฉบับเดียวกันได้หรือไม่?
A : ไม่ได้ สามารถเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติม DAB DAB2 หรือ DAB Extra แบบใดแบบหนึ่งต่อกรมธรรม์เท่านั้น
Q : สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวัน (DAB Extra) มีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) อย่างไร?
A : - สำหรับการป่วยใด ๆ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 30 วัน
- สำหรับการป่วยเนื่องจาก ริดสีดวงทวาร, การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์, ไส้เลื่อนทุกชนิด, นิ่วทุกชนิด, ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 120 วัน
- สำหรับผลประโยชน์ค่าชดเชยกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในเนื่องจากโรคร้ายแรง ซึ่งแพทย์ยืนยันและมีหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period) 90 วัน
ข้อควรทราบ:
*กรณีเลือกทำแผนความคุ้มครอง DAB Extra วันละ 4,500 บาท สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีอายุรับประกันภัย 16 - 64 ปี และมีจำนวนเงินเอาประกันภัยของกรมธรรม์หลัก ประเภทสามัญรวมทุกกรมธรรม์ที่มีผลบังคับ ตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป
**ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลในห้องทั่วไปและห้องผู้ป่วยวิกฤตทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมกันจะต้องไม่เกิน 1,500 วัน ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
***โรคร้ายแรงตามคำนิยามที่กำหนดไว้ในสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวัน (DAB Extra) โดยบริษัทจะจ่ายเพียงหนึ่งโรคร้ายแรงตามคำนิยามที่กำหนดไว้ในสัญญาเพิ่มเติมนี้ ไม่ว่าป่วยด้วยโรคร้ายแรงกี่โรคก็ตาม ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และบริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์นี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป เนื่องจากภาวะแทรกซ้อน หรือ ภาวะสืบเนื่องที่เกิดจากโรคเดียวกันตลอดอายุของผู้เอาประกันภัย แต่ความคุ้มครองในโรคร้ายแรงอื่น ๆ จะยังคงคุ้มครองอยู่ สำหรับการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลครั้งต่อ ๆ ไป
****ระยะเวลาที่พำนักอยู่ในต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 30 วันติดต่อกัน
*****การผ่าตัดใหญ่ หมายถึง การผ่าตัดที่ผ่านผนังหรือช่องโพรงของร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสลบแบบทั่วไป (General Anaesthesia) หรือการใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Regional Anaesthesia) โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์นี้เพียงหนึ่งครั้ง ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติม/บันทึกสลักหลังมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม /บันทึกสลักหลังได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของบริษัท
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม