โปรแกรมคำนวณภาษี 2567
ได้เงินคืน
0
บาท
ภาษีที่ต้องเสีย คือ
ภาษีที่ต้องจ่ายจริง - ภาษีจ่ายไปแล้ว(หัก ณ ที่จ่าย)
ภาษีที่ต้องจ่ายจริง
0
บาท
ภาษีที่จ่ายไปแล้ว
0
บาท
รายการค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อนส่วนตัว | 60,000 | บาท |
ค่าลดหย่อนคู่สมรส | 0 | บาท |
ค่าฝากครรภ์หรือทำคลอด | 0 | บาท |
ค่าลดหย่อนบุตร | 0 | บาท |
ค่าลดหย่อนบิดามารดา | 0 | บาท |
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพลภาพ | 0 | บาท |
เงินประกันสังคม | 0 | บาท |
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต | 0 | บาท |
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง | 0 | บาท |
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา | 0 | บาท |
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ | 0 | บาท |
ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) | 0 | บาท |
ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) | 0 | บาท |
กบข./กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน | 0 | บาท |
กองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) | 0 | บาท |
ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย | 0 | บาท |
เงินบริจาคพรรคการเมือง | 0 | บาท |
2 เท่าของ เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และ โรงพยาบาลรัฐ | 0 | บาท |
เงินบริจาคทั่วไป | 0 | บาท |
Easy e-Receipt 2567 | 0 | บาท |
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) | 0 | บาท |
กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG) | 0 | บาท |
ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567 | 0 | บาท |
ค่าจ้างก่อสร้างบ้านใหม่ 2567-2568 | 0 | บาท |
รวม | 0 | บาท |
หักค่าใช้จ่าย
คุณมีสิทธิ์หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้
( ไม่เกิน 100,000 บาท )
( ไม่เกิน 100,000 บาท )
รายได้ของคุณ
คุณถูกหักภาษีจากเงินเดือนตลอดทั้งปีเท่าไหร่ (จากใบ 50 ทวิ)
ตัวเลือกการลดหย่อนภาษี
ในปีภาษี 2567 นี้ คุณมีค่าลดหย่อนที่สามารถใช้ได้ ดังนี้
คุณจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนคู่สมรสหรือไม่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ต้องเป็นสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรสกัน)
สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมิน
สามีหรือภริยา (คู่สมรส) ของผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
คุณจ่ายค่าฝากครรภ์หรือค่าทำคลอดไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
เงินที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร เช่น ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายา ค่าทำคลอด เป็นต้น
จ่ายให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ หรือของเอกชน
ตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี สำหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราว ไม่เกิน 60,000 บาท
ต้องมีเอกสารมาแสดง ได้แก่ ใบรับรองแพทย์ที่แสดงความเห็นว่ามีภาวะตั้งครรภ์ และใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่ได้จ่ายให้แก่สถานพยาบาล
ต้องรวมกับสิทธิการเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ซึ่งเป็นสวัสดิการจากภาครัฐหรือภาคเอกชนสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแล้ว ไม่เกิน 60,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ ใช้สิทธิตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้ภริยาใช้สิทธิเต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
คุณมีบุตรที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 กี่คน
คุณมีบุตรที่เกิดก่อนปี 2561 กี่คน
(ตั้งแต่ปี 2560 ย้อนลงไป)
(ตั้งแต่ปี 2560 ย้อนลงไป)
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท
บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน
บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป (ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 42)
บุตรต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
เป็นผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี) หรือผู้มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา (ระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรีขึ้นไป) รวมถึงการศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิต หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบุตรที่อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันเท่านั้น
กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนบุตรได้ไม่ว่าบุตรจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศ
สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป (ยกเว้นบุตรบุญธรรม) ที่เกิดในหรือหลัง พ.ศ. 2561 หักลดหย่อนได้เพิ่มอีก คนละ 60,000 บาท
คุณจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนใครบ้าง
ลดหย่อนบิดา
ลดหย่อนมารดา
ลดหย่อนบิดาของคู่สมรส
ลดหย่อนมารดาของคู่สมรส
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
บิดา/มารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (การคำนวณอายุให้นำปีภาษี หักด้วย พ.ศ. เกิดของบิดา/มารดา)
บิดา/มารดา ต้องมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
หากภริยาแยกยื่นแบบเสียภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักบิดา/มารดาของตน
บิดา/มารดาต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาท
ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน
บุตรหลายคนอุปการะบิดา/มารดา ให้บุตรเพียงคนเดียวที่มีหลักฐาน (ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน
หากผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในไทย
คุณดูแลผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ที่จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนกี่คน
คู่สมรส
บิดา
มารดา
บุตร
จำนวน
บุคคลนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
คนพิการต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ผู้ใช้สิทธิต้องมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวของคนพิการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน
คนทุพพลภาพต้องเป็นกรณีที่แพทย์ได้ตรวจและมีความเห็นว่าทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน
คนพิการ/ทุพพลภาพต้องมีเงินได้ไม่เกิน 60,000 บาท
คุณจ่ายค่าประกันสังคมรวมทั้งปีเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตต่อปีเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง/ระยะเวลาฝากเงิน 10 ปีขึ้นไป
เป็นบริษัทประกันชีวิต/ ธนาคารในประเทศไทย
เงินที่ได้รับคืนระหว่างสัญญาต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเองไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพตนเองที่จ่ายไป ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2560
ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้เอาประกันไว้ โดยบริษัทประกันฯ ต้องส่งข้อมูลของผู้เอาประกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 315)
คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ผู้มีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันให้บิดา/มารดาของตน และบิดา/มารดา
ของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
บิดา/มารดา ต้องมีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ต้องเป็นเบี้ยประกันสุขภาพ ไม่ใช่เบี้ยประกันชีวิต (หากเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตและมีการประกันสุขภาพเพิ่มเติม ไม่สามารถหักลดหย่อน)
บิดา/มารดาต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาท
บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้นฯ
ภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นแบบเสียภาษี หรือใช้สิทธิก็ตาม ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นฯ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดาของตน
กรณีกรมธรรม์ใดมีการชำระจากบุตรหลายคน ให้ใช้สิทธิยกเว้นได้ทุกคน โดยเฉลี่ยเบี้ยประกันตามส่วนจำนวนบุตรที่ร่วมกันจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
กรณีผู้มีเงินได้มิได้อยู่ในไทย ให้ยกเว้นได้เฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาที่อยู่ในไทยเท่านั้น
การหักลดหย่อนต้องมีหลักฐานใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันฯ
คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญรวมทั้งปีเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ให้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตก่อน หากเบี้ยประกันชีวิตยังไม่เกิน 100,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันแบบบำนาญไปหักให้เต็มจำนวน 100,000 บาท
เฉพาะเบี้ยประกันแบบบำนาญหักเป็นรายการยกเว้นได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
เบี้ยประกันแบบบำนาญที่ยกเว้นนั้น เมื่อรวมกับ
(1) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนการออมแห่งชาติ
(5) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนเบี้ยประกันบำนาญของคู่สมรสได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งจำนวนดังกล่าวให้รวมถึงเบี้ยประกันชีวิตด้วย (ถ้ามี) โดยบันทึกข้อมูลในช่องเบี้ยประกันชีวิต
ประกันแบบบำนาญ ที่กรมธรรม์มีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป
(1) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนการออมแห่งชาติ
(5) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
คุณซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)ไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
ต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 10ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อ
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับรายการดังต่อไปนี้แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
คุณซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)ไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ให้หักเป็นรายการยกเว้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสะสมกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ได้รับยกเว้นนั้น เมื่อรวมกับรายการดังต่อไปนี้แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนการออมแห่งชาติ
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
ต้องซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
ต้องซื้อไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และไม่ระงับการซื้อเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
เงื่อนไขการถือครองหน่วยลงทุนฯ
(1) กรณีซื้อหน่วยลงทุนฯ ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนฯ ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนฯ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย) หากใช้สิทธิแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบฯ เพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีสำหรับปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิไปแล้วในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ยื่นแบบฯ ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบฯ เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่ม
(2) กรณีขายหน่วยลงทุนฯ ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนฯ ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก หากใช้สิทธิแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนการออมแห่งชาติ
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
(1) กรณีซื้อหน่วยลงทุนฯ ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนฯ ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนฯ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย) หากใช้สิทธิแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบฯ เพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีสำหรับปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิไปแล้วในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ยื่นแบบฯ ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบฯ เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่ม
(2) กรณีขายหน่วยลงทุนฯ ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนฯ ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก หากใช้สิทธิแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด.90
คุณซื้อกบข./กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับรายการดังต่อไปนี้แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
คุณซื้อกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)ไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับรายการดังต่อไปนี้แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) กบข.
(3) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
(4) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
(5) เบี้ยประกันแบบบำนาญ
คุณเสียดอกเบี้ยจากการกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด หรือสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตน
ต้องจำนองอาคาร ห้องชุด อาคารพร้อมที่ดิน ที่ซื้อหรือสร้างนั้นเป็นประกันการกู้ยืม
หากผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดหลายแห่ง ให้ใช้สิทธิได้ทุกแห่งรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หลายคนร่วมกันกู้ยืม (กู้ร่วม) ให้เฉลี่ยดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นตามจำนวนผู้กู้ร่วม โดยใช้จำนวนดอกเบี้ย ที่จ่ายจริง ซึ่งไม่เกิน 100,000 บาท
กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้โดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิเต็มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่มีชื่อเป็นผู้กู้ หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ได้
กรณีกู้เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม เช่น กู้ต่อเติมตกแต่ง ไม่ได้รับสิทธิให้นำมาหักลดหย่อน เพราะมิได้เป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
หมายเหตุ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าว รวมถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม (Refinance) เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืม เพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระนั้น
หมายเหตุ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าว รวมถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม (Refinance) เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืม เพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระนั้น
คุณได้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่ให้เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง ในช่วงระยะเวลาที่พรรคการเมืองจัดกิจกรรมระดมทุนเท่านั้น
ผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อนต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย
ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
คุณบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒานาสังคม และ โรงพยาบาลรัฐไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
สามารถหักค่าลดหย่อนได้2เท่า
สามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยงานบริจาคที่เข้าร่วมได้ที่เวบไซต์ของกรมสรรพากร
คุณบริจาคให้องค์กรอื่น ที่ไม่อยู่ในข้อ 18. รวมตลอดทั้งปีเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
ต้องบริจาคให้กับองค์กรตามที่กรมสรรพากรกำหนด
คุณใช้สิทธิ์ Easy e-Receipt 2567 ไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567
- สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
- สำหรับการซื้อสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
คุณใช้เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)ไปเท่าไหร่
คุณซื้อกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG) เท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
- ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 300,000 บาท (ลงทุนในช่วง 1 ม.ค. 67 - 31 ธ.ค. 69)
คุณใช้สิทธิ์เที่ยวเมืองรอง 2567 ไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
- ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567
- สำหรับท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด
- สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ ค่าแพ็คเกจทัวร์ ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์
- โดยต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)
คุณใช้สิทธิ์ลดหย่อนค่าจ้างก่อสร้างบ้านไปเท่าไหร่
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
หลักเกณฑ์
- ค่าก่อสร้างบ้านใหม่ตามสัญญาจ้าง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568
- สามารถลดหย่อนได้ 10,000 บาท ต่อจำนวนค่าก่อสร้างที่จ่ายจริงทุก 1 ล้านบาท (รวม VAT แล้ว) สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- จำกัดค่าก่อสร้างบ้านใหม่ไม่เกิน 1 หลัง สูงสุดไม่เกิน 10ล้านบาท