ปัจจุบันคนไทยมีสถิติการป่วยทั้งแบบเรื้อรัง และไม่เรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการใส่ใจดูแลสุขภาพร่ายกายตัวเอง และโรคร้ายแรงที่คนไทยเป็นมากที่สุดคือ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยครับว่าในวันข้างหน้าเราจะเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ เพราะฉะนั้นการมีประกันเอาไว้ย่อมอุ่นใจกว่า และนี่ก็คือเหตุผลดี ๆ ที่คุณควรมีประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ ครับ
4 เหตุผลสำคัญ ที่เราควรมีประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง
1. เพราะโรคร้ายแรงมีสิทธิ์เกิดได้กับทุกคน
โดยเฉพาะโรคมะเร็ง จากข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2565 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติเผยว่า แต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 139,204 คน หรือ ประมาณ 382 คนต่อวัน เช่น
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี มีผู้ป่วยใหม่วันละ 60 คน หรือ 22,213 คนต่อปี
- มะเร็งเต้านม มีผู้ป่วยใหม่วันละ 47 คน หรือ 17,043 คนต่อปี
- มะเร็งปอด มีผู้ป่วยใหม่วันละ 47 คน หรือ 17,222 คนต่อปี
2. ช่วยคุ้มครองอนาคตของเราและครอบครัว
ส่วนใหญ่แล้ว ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคร้ายแรงมักค่อนข้างสูง จึงอาจทำให้การเงินของผู้ป่วยและคนในครอบครัวฝืดเคือง จนถึงขั้นส่งผลกระทบต่ออนาคตได้
แต่ถ้ามีประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เช่น ประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค พลัส (คลิกที่นี่) จะจ่ายผลประโยชน์จำนวน 200,000 บาท เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและ/หรือยืนยันจากแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองในระหว่างที่ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
3. ช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่ดี
แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมโรคร้ายแรงหลายชนิดก็ตาม โดยเฉพาะสิทธิประกันสังคมที่พนักงานออฟฟิศและลูกจ้างบริษัทต่าง ๆ คุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิประกันสังคมสามารถเข้ารับการรักษาโรคร้ายแรงได้ไม่ครบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็ง สามารถเข้ารับการรักษาได้เพียง 20 ชนิด โดยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
โรคมะเร็งทั้ง 20 ชนิดที่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ มีดังนี้
- โรคมะเร็งเต้านม
- โรคมะเร็งปากมดลูก
- โรคมะเร็งรังไข่
- โรคมะเร็งมดลูก
- โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก
- โรคมะเร็งปอด
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ใหญ่ตรง
- โรคมะเร็งหลอดอาหาร
- โรคมะเร็งตับ และท่อน้ำดี
- โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่แบบ Acute Promyelocytic leukemia (APL)
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมาในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเด็ก
จะเห็นว่า หากเป็นโรคร้ายแรงที่นอกเหนือจากความคุ้มครองของสิทธิประกันสังคมแล้ว ก็อาจจะทำให้การรักษาดำเนินไปอย่างติดขัด และมีข้อจำกัดได้ แต่หากทำประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง เช่น สัญญาเพิ่มเติม โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 ให้ความคุ้มครองถึง 120 โรคร้ายแรง (คลิกที่นี่) ช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาที่ดีและทันท่วงที
4. หากเคยเป็นโรคร้ายแรงแล้ว จะไม่สามารถทำประกันโรคร้ายแรงได้อีก
นอกจากประกันโรคร้ายแรงแล้ว ก็อาจส่งผลต่อการทำประกันชีวิตประเภทอื่น ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น ควรทำประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่อายุยังไม่มากนัก และร่างกายยังแข็งแรงอยู่
OCEAN LIFE ไทยสมุทร พร้อมดูแลคนไทย
หมดห่วงเมื่อเจอโรคภัย เจ็บป่วยหาหมอได้สบาย
ข้อควรทราบ :
- สำหรับสัญญาสำหรับสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) สัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม ได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ ชั้นอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) ของสัญญาเพิ่มเติมนี้ รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ซีไอ ซูเปอร์ โพรเทค พลัส เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโอเชี่ยนไลฟ์ ซุปเปอร์ เฮลท์แคร์ 90/10 แนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย (H&S Lump Sum) และสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายได้รายวัน (DAB2) โดยสัญญาเพิ่มเติมนี้มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ผู้เอาประกันภัยอาจขอต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมได้ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติม ทั้งนี้ สำหรับปีต่ออายุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ อาชีพ การเรียกร้องค่าสินไหม ของผู้เอาประกันภัย รวมถึงเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :
https://www.nci.go.th
https://thaicancersociety.com/rights-to-health-care/