เมื่อพูดถึงการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ หลายคนอาจสงสัยว่าควรเลือกแบบไหนดี ระหว่างประกันบำนาญ หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยทั้งสองรูปแบบนี้มีจุดเด่นและประโยชน์ที่แตกต่างกันไป บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างและเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเป้าหมายของตัวเองได้
ประกันบำนาญ คืออะไร
คือ แบบประกันที่เน้นการเตรียมพร้อมเพื่อเกษียณอายุ เมื่อถึงวัยเกษียณจะได้รับเงินบำนาญจากแบบประกันทุกๆ ปี นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ (เช่น 55, 60 หรือ 65 ปี แล้วแต่แบบประกัน) ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
RMF คืออะไร
เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรูปแบบหนึ่งที่รัฐส่งเสริมให้มีขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันแก่ตนเองหรือครอบครัวเมื่อเกษียณอายุ โดยมีข้อกำหนดพิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป คือ ผู้ลงทุนจะไถ่ถอนเงินลงทุนได้ เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และมีการลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี โดย RMF จะไม่มีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินผลประโยชน์อื่นให้แก่ผู้ลงทุนในระหว่างการลงทุน
ความแตกต่างระหว่างประกันบำนาญ กับ RMF
- ระยะเวลาลงทุน/ระยะเวลาชำระค่าเบี้ย
ระยะเวลาลงทุนของ RMF >> ผู้ลงทุนใน RMF จะต้องซื้อหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ไม่จำเป็นต้องซื้อติดกัน แต่ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน เช่น หากซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกในปี 2567 สามารถระงับการซื้อในปี 2568 และซื้อหน่วยลงทุนอีกครั้งในปี 2569 ได้ เป็นต้น
ระยะเวลาชำระค่าเบี้ยประกันบำนาญ >> ระยะเวลาชำระค่าเบี้ยประกันบำนาญนั้นมีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย เพราะมีทั้งแบบประกันที่กำหนดให้ชำระค่าเบี้ยแค่ครั้งเดียว ระยะสั้น และระยะยาว แต่ต้องชำระติดต่อกันทุกปีจนสิ้นสุดระยะเวลาชำระเบี้ย เช่น ประกันบำนาญ รีไทร์ เรดดี้ 85/5 ต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นระยะเวลา 5 ปี ติดต่อกัน ส่วนประกันรีไทร์ เรดดี้ 85/55 ต้องชำระเบี้ยจนกว่าผู้เอาประกันจะมีอายุ 55 ปี ถ้าทำตอนอายุ 40 ปี ก็ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 15 ปี เป็นต้น
- ผลตอบแทน/ผลประโยชน์
ผลตอบแทนของ RMF >> ขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาด เนื่องจากกองทุน RMF จะนำเงินของผู้ซื้อไปลงทุนต่อกับสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ จึงอาจมีโอกาสทั้งขาดทุนและได้รับผลตอบแทน โดยสามารถประเมินเบื้องต้นได้จากระดับความเสี่ยง ซึ่งมีตั้งแต่ 1-8 โดยระดับที่ 1 จะมีความเสี่ยงต่ำที่สุด หมายถึง โอกาสขาดทุนจะน้อยกว่ากองทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่า แต่โอกาสได้ผลตอบแทนก็จะมีจำนวนน้อยกว่าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะสามารถไถ่ถอนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 55 ปี
ผลประโยชน์ของประกันบำนาญ >> จะมีความมั่นคงแน่นอนกว่า RMF เพราะเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด เช่น อายุ 55 60 หรือ 65 ปี แล้วแต่แบบประกัน บริษัทจะจ่ายบำนาญให้กับผู้เอาประกันภัยเป็นงวด ๆ เท่า ๆ กัน ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยจะสามารถทราบเงินบำนาญที่จะได้รับในแต่ละงวดได้ตั้งแต่ตัดสินใจทำประกันบำนาญ ทำให้วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณในระยะยาวได้ง่ายขึ้น
- ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต
RMF >> หากผู้ถือหน่วยลงทุนเสียชีวิต ทั้งเงินต้นและผลตอบแทนในกองทุน RMF จะตกเป็นของทายาทโดยธรรมตามลำดับ หรือผู้รับมรดกตามพินัยกรรม โดยเงินที่ถอนออกจากกองทุน จะได้รับการยกเว้นภาษี
ประกันบำนาญ >> บริษัทประกันฯ จะจ่ายเงินผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตให้กับผู้รับผลประโยชน์ในรูปแบบจ่ายครั้งเดียว โดยจะแตกต่างกันไปในกรณีเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญ และกรณีเสียชีวิตในช่วงรับเงินบำนาญแต่ยังไม่ครบตามกำหนดสัญญา
- การลดหย่อนภาษี
RMF >> ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน SSF และประกันบำนาญแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันบำนาญ >> ลดหย่อนได้สูงสุดร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และค่าลดหย่อนเมื่อรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน SSF และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- การทำผิดกฏเกณฑ์
RMF >> ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนใน RMF โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของเงินลงทุนไปแล้ว ต่อมาไม่ปฏิบัติไปตามเงื่อนไขการลงทุนและการถือครอง ผู้ลงทุนจะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของเงินลงทุนใน RMF และต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับไปในระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง
ประกันบำนาญ >> ในกรณีที่กรมธรรม์มีอายุเกินกว่า 10 ปีแล้ว หากผู้เอาประกันภัยไม่จ่ายเบี้ยประกันบำนาญปีต่อ ไม่ต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีย้อนหลัง และสถานะของกรมธรรม์ฉบับดังกล่าวอาจขาดผลบังคับได้ แต่ในกรณีที่กรมธรรม์ยังมีอายุไม่ถึง 10 ปี และผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันบำนาญปีต่อจนทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ ถือเป็นกรณีปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด จะต้องชำระคืนภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับผู้ที่ทำประกันบำนาญกับ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะกรมธรรม์ ได้ที่นี่
จะเห็นได้ว่า ประกันบำนาญ กับ RMF มีข้อดีที่แตกต่างกัน
ทำประกันบำนาญ รีไทร์ เรดดี้ 85/5 กับ OCEAN LIFE ไทยสมุทร
- รับเงินบำนาญ 15% ต่อปี ตั้งแต่อายุ 60 - 85 ปี รวม 390% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- ชำระเบี้ยประกันภัยสั้น ๆ เพียง 5 ปี
ข้อควรทราบ :
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต ให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การที่ที่ปรึกษาประกันชีวิต (ตัวแทนประกันชีวิต) มาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :
สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย