5 โรคฤดูร้อนต้องระวัง

5 โรคฤดูร้อน


เมื่อฤดูร้อนมาถึง การระวังโรคที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากอากาศร้อนและชื้นอาจก่อให้เกิดเชื้อโรคต่างๆ และยังมีผลต่อร่างกายและจิตใจมากกว่าที่หลาย ๆ คนคิด ดังนั้นจึงควรรู้จักและป้องกันโรคฤดูร้อนเอาไว้ โดยในบทความนี้จะแนะนำเกี่ยวกับ 5 โรคที่ควรระวังในช่วงฤดูร้อนนี้

เจ็บป่วยเพราะโรคฤดูร้อน ให้ประกันสุขภาพโอชิ สมอล เฮลท์ ช่วยดูแล คลิกเลย

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) เหมาจ่ายตามจริง สูงสุด 50,000 บาทต่อครั้ง(1) ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุดครั้งละ 1,000 บาท(1) ไม่ต้องสำรองจ่าย เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คลินิกเครือข่าย และรวมถึงการใช้บริการ Telemedicine หรือบริการ Telepharmacy(2)
  • คุ้มครองชีวิต ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต 50,000 บาท

 

1. โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke)

ฤดูร้อนของประเทศไทย ที่มักมีสภาพอากาศที่ร้อนจัด จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทัน โดยโรคลมแดดนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นได้เฉพาะกับมนุษย์ แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวได้อีกด้วย

อาการ

  • มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
  • กลไกการขับความร้อนออกจากร่างกายไม่เป็นปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยอาจไม่มีเหงื่อออก จึงเกิดภาวะบวมจากความร้อน และผิวหนังแดงเพราะความร้อน
  • อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว ท้องเสีย และมีอาการอ่อนเพลีย
  • มีอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก เช่น ซึม สับสน หรือบางทีอาจจะถึงขั้นชักและหมดสติได้

การป้องกัน

  • เลือกสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย และระบายความร้อนได้ดี
  • ดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ และควรดื่มอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือในที่อากาศร้อนจัด หากจำเป็นต้องทำ ควรหยุดพักเป็นระยะ และไม่ฝืนทำกิจกรรมต่อ หากรู้สึกว่าเริ่มมีอาการเริ่มต้นของโรคลมแดด

การรักษาพยาบาลตนเองเบื้องต้น เมื่อเริ่มมีอาการ

  • ออกมาจากบริเวณที่มีอากาศร้อน
  • ถอดเสื้อผ้าออกบ้าง เพื่อระบายความร้อน
  • พัดหรือเป่าลมระบายความร้อน
  • นำผ้าชุบน้ำเย็นมาเช็ดตัว สามารถวางตามข้อพับ คอ และหน้าผากได้
  • ดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป

2. อาหารเป็นพิษ

อากาศร้อนเป็นตัวการสำคัญของโรคอาหารเป็นพิษ เพราะทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ได้อุ่นจนร้อน อาจมีเชื้อโรคปะปนมา โดยนอกจากจะทำให้อาหารเป็นพิษด้วยแล้ว เชื้อโรคต่าง ๆ อาจทำให้เกิดโรคที่ติดต่อผ่านระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ เช่น อหิวาตกโรค, โรคบิด, ไวรัตับอักเสบ A เป็นต้น

อาการ

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มีอาการปวดท้อง และมีไข้
  • ถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน) และมักถ่ายเหลวเป็นน้ำ
  • ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ, อาหารที่ปรุงสุกไว้นานแล้ว โดยไม่มีการอุ่นร้อน โดยเฉพาะอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม, อาหารที่มีแมลงวันตอม, น้ำแข็งที่ดูสกปรก หรืออาจผลิตไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงเครื่องดื่มเย็น ไอศกรีม และขนมหวานต่าง ๆ ด้วย

การรักษาพยาบาลตนเองเบื้องต้น เมื่อเริ่มมีอาการ

  • ดื่มน้ำมาก ๆ สามารถดื่มน้ำเกลือแร่สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียได้
  • สามารถรับประทานยาตามอาการได้ เช่น ยาแก้คลื่นไส้ ยาแก้ไข้ เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพราะผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นเองใน 24-48 ชั่วโมง
  • งดทำกิจกรรมหนัก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดรับประทานอาหารรสจัด อาหารประเภทนม ผลไม้ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น รวมถึงอาหารหมักดองด้วย

 

3. โรคพิษสุนัขบ้า

เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากสุนัขด้วย เช่น แมว ค้างคาว ลิง ม้า กระต่าย เม่น เป็นต้น โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำลายของสัตว์เมื่อถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่ร่างกายมีบาดแผล หรือเยื่อบุต่าง ๆ รวมถึงการชำแหละซากสัตว์ และรับประทานเนื้อสัตว์ดิบจากสัตว์ที่ติดเชื้อดังกล่าวด้วย 

ปกติแล้วโรคพิษสุนัขบ้าเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จำนวนผู้ป่วยถูกสุนัขกัดมักสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอม ที่เด็ก ๆ มักอยู่บ้าน จึงเกิดเหตุสุนัขกัดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสุนัขมักหงุดหงิดมากกว่าปกติในฤดูร้อนด้วย

อาการ

  • รู้สึกไม่สบายตัว มีไข้ เบื่ออาหาร และกระสับกระส่าย
  • นอนไม่หลับ ไวต่อแสง เสียง มักเกิดภาพหลอน หลั่งน้ำลายมาก คอหอยหดเกร็งเมื่อสัมผัสของเหลว 
  • กลัวน้ำ เป็นอัมพาตทั่วร่างกาย เซื่องซึมลงเรื่อย ๆ จนภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การป้องกัน

  • พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนดเป็นประจำทุกปี
  • ไม่เข้าไปจับ แหย่ หรือทำให้สัตว์โมโห โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ รวมถึงสัตว์ป่าด้วย
  • สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์ สัตว์แพทย์ หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีการระบาดของโรค สามารถฉัดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้าได้

การรักษาพยาบาลตนเองเบื้องต้น เมื่อถูกสัตว์กัด

  • ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลาย ๆ ครั้ง อย่างน้อย 15 นาที เช็ดแผลให้แห้ง แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ
  • สังเกตอาการของสัตว์ที่กัด โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่รู้จัก เพราะโอกาสที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้างสูง
  • ไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและบาดทะยัก หากมีสมุดวัคซีนหรือประวัติการรับวัคซีนควรนำไปด้วย

 

4. ภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อน (Summer Seasonal Depression)

หากเทียบกับภาวะซึมเศร้าในฤดูหนาว ที่เกิดจากการขาดแสงแดดเป็นเวลานานแล้ว ภาวะซึมเศร้าในฤดูร้อนอาจไม่เป็นที่รู้จักและตระหนักรู้เท่าไรนัก โดยภาวะซึมเศร้าในฤดูร้อน เกิดจากไอร้อน ความชื้น แสงแดดจ้า และฝุ่นควันหรือฝุ่นเกสรดอกไม้ นอกจากนั้น อาการของภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อนยังตรงกันข้ามกับอาการของภาวะซึมเศร้าในฤดูหนาวด้วย

อาการ

  • ความสุขของผู้ป่วยลดลง
  • ไม่หิว ไม่อยากอาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • เศร้า แต่ไม่ซึม มักมีอาการปั่นป่วนและกระวนกระวายใจ แต่ยังมีพลังงานในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตราย เนื่องจาก ผู้ป่วยมีโอกาสฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าฤดูหนาว ที่มักเซื่องซึม ไม่มีพลังงาน และนอนมากจนเกินไป

การป้องกัน

  • ทำร่างกายให้เย็นลง เช่น อาบน้ำเย็น
  • เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อุณหภูมิเย็นลงตลอดเวลา

การรักษา

สังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง หากรู้สึกเศร้ากว่าปกติ ให้รีบไปพบแพทย์

 

ข้อควรทราบ : 

(1) กรณีเลือกทำโครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) แผน 3

(2) การรักษาในสถานพยาบาล คลินิกในเครือข่ายโดยไม่ต้องสำรองจ่าย เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด

  • โครงการโอชิ สมอล เฮลท์ (Ochi Small Health Package) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันโอเชี่ยนไลฟ์ สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/99 แนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ สมอล เฮลท์ (Small Health) และบันทึกสลักหลังค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) 
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

 

อ้างอิง : 

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชย์การุณ 1, 2
RAMA CHANNEL โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1, 2
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันโรคผิวหนัง
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
The Washington Post

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ