ประกาศแล้ว ! มาตรการลดหย่อนภาษีที่ทุกคนรอคอย “Easy E-Receipt” ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับโครงการช้อปดีมีคืนในปี 2565 และ 2566 ที่ผ่านมา แต่ต่างกันตรงที่มาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt จะจำกัดเฉพาะใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) และใบรับแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น
อ่านรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt ได้ที่นี่
Easy E-Receipt เริ่มวันไหน ลดหย่อนได้เท่าไร
มาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตามจำนวนจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้เมื่อไร
สามารถนำไปลดหย่อนได้ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2567 ที่จะต้องยื่นในช่วงต้นปี 2568 (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล)
Easy E-Receipt ใช้ซื้อสินค้าและบริการอะไรได้บ้าง
1. ประเภทสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Tax invoice ได้
สามารถซื้อสินค้าและรับบริการต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยจะต้องดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้าน สปาและเสริมสวย ค่าซื้อแพ็กเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ ค่าที่พักหรือโรงแรม เป็นต้น
สามารถตรวจสอบสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Tax invoice ได้ที่นี่
2. ประเภทสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการสามารถออก e-Receipt ได้ แต่ไม่สามารถออก e-Tax invoice ได้
หากซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยซื้อสินค้าและบริการได้เฉพาะรายการดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
สินค้าและบริการที่ไม่รองรับมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
- ค่าเบี้ยประกันภัยและประกันวินาศภัย
- ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม
- ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ
- ค่าซื้อบัตรของขวัญของห้างสรรพสินค้า (Gift voucher) ค่าซื้อบัตรของขวัญ (Voucher)
จะเห็นได้ว่า สินค้าและบริการที่รองรับมาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt ปี 2567 นั้น จะแตกต่างจากโครงการช้อปดีมีคืน ปี 2566 โดย Easy E-Receipt สามารถใช้สิทธิ์กับบริการประเภทการท่องเที่ยวและโรงแรมได้ แต่ไม่สามารถใช้เติมน้ำมันสำหรับยานพาหนะได้
นอกจากมาตราการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt แล้ว ผู้มีเงินได้ทุกคนยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วยการทำประกันชีวิตอีกด้วย โดยการทำประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษีตั้งแต่ต้นปีนั้น สามารถนำไปใช้ในการยื่นภาษีครึ่งปี (ภงด.94) ได้ด้วย
ทำประกันลดหย่อนภาษีกับ OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต
โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 ประกันสะสมทรัพย์ที่ให้เงินคืนไวตั้งแต่ปีแรกที่ทำประกันชีวิต โดยรับเงิน 20% ทุกปี ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-6 และรับเงิน 100% ทุกปี ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 7-9
ลดหย่อนได้ 1 แสน ไม่ต้องรอนาน 8 ปี ไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด
ทำประกัน โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5
ข้อควรทราบ :
- % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- โอเชี่ยนไลฟ์ออมสบาย 10/5 เป็นชื่อทางการตลาดของไทยสมุทรออมสบาย 10/5
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :