เตรียมตัวช้อปให้พร้อม ! เพราะโครงการ Easy E-Receipt กลับมาอีกครั้ง ในชื่อ Easy E-Receipt 2.0 ที่มีรายละเอียดแตกต่างกับปี 2567 ที่ผ่านมา มาอัปเดตรายการสินค้าและเงื่อนไขกันได้ที่บทความนี้เลย
นอกจากโครงการ Easy E-Receipt แล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษียังสามารถลดหย่อนภาษีในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก หากมีเป้าหมายต้องการเก็บออมเงินด้วยประกันชีวิต โอเชี่ยนไลฟ์ เมคชัวร์ 10/5 ประกันสะสมทรัพย์จ่ายเบี้ยสั้น ๆ ตอบโจทย์นี้แน่นอน
- รับเงินคืน 4% ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-5
- รับเงินคืน 5% ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 6-9
- ครบกำหนดสัญญารับเงินคืน 525%
สนใจทำประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ เมคชัวร์ 10/5 คลิก
ระยะเวลาของโครงการ Easy E-Receipt 2568
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ที่ใช้จ่ายในช่วงวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุด 50,000 บาท โดยต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของโครงการ Easy E-Receipt 2568
เงื่อนไขที่ 1 หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด ผงซักฟอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าตัดผม เสื้อผ้า ค่าซ่อมรถ เป็นต้น โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่นี่
สำหรับสินค้าและบริการจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการตามรายการด้านล่างนี้เท่านั้น
- หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
- หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
เงื่อนไขที่ 2 หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท
สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ
ตัวอย่างสินค้าและบริการดังกล่าว เช่น ผ้าไหม เสื้อม่อฮ่อม สบู่มะกรูด น้ำผึ้งดอกลำไย แคบหมู เป็นต้น โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อสินค้าและบริการได้ดังนี้
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว คลิก
- สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร คลิก
- สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ คลิก
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสินค้าและให้บริการ OTOP วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม อาจไม่อยู่ในระบบ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt จึงควรตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการในระบบดังกล่าวด้วย คลิก
ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามเงื่อนไขที่ 1 และ 2 เมื่อรวมกันแล้ว จะหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท โดยสามารถจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการหลายครั้ง และนำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการแต่ละครั้งมารวมกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
สินค้าและบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อเรือ
- ค่าซื้อทองคำแท่ง
- ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าทำศัลยกรรม
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลา ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
- ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
จะเห็นได้ว่า เงื่อนไขของ Easy E-Receipt 2.0 สำหรับปี 2568 แตกต่างจาก Easy E-Receipt ปี 2567 มาก โดยเฉพาะวงเงินในการซื้อสินค้า โดยโครงการ Easy E-Receipt ปี 2567 อนุญาตให้ซื้อสินค้าและบริการเพื่อการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขที่ 1 ได้สูงสุดถึง 50,000 บาท แต่สำหรับ Easy E-Receipt 2.0 ปี 2568 อนุญาตเพียง 30,000 บาทเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 20,000 บาทต้องเป็นสินค้าหรือบริการประเภท OTOP วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมเท่านั้น
ข้อควรทราบ :
- % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการให้ตรวจสุขภาพ หรือขอเอกสารทางการแพทย์เพิ่มเติมเมื่อเห็นว่าจําเป็น
- ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิตไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ที่ปรึกษาประกันชีวิต (ตัวแทนประกันชีวิต) มาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
ข้อมูล ณ วันที่ 6 มกราคม 2568
อ้างอิง :