เงินร้อน vs เงินเย็น ต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีการจัดสรรเงินแต่ละแบบ

"เงิน" มีวิธีการแบ่งเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายออกเป็นสองรูปแบบหลักคือ "เงินร้อน" และ "เงินเย็น" ซึ่งมีลักษณะและการใช้งานที่แตกต่างกัน ในบทความนี้เราจะสำรวจเรื่องเงินร้อนและเงินเย็น รวมถึงวิธีการจัดสรรเงินแต่ละแบบให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการวางแผนการเงิน มาทำความรู้จักกับคำว่า "เงินร้อน" และ "เงินเย็น" และเริ่มต้นการวางแผนการเงินของคุณกันเถอะ

 

ความหมายของ "เงินร้อน" และ “เงินเย็น”

"เงินร้อน" คือ เงินที่ได้มาแล้วมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายในระยะเวลาอันสั้น เช่น ใช้จ่ายหนี้สิ้นต่าง ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อได้รับเงินเดือนมาแล้ว ต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสัญญานอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการผ่อนชำระหนี้สินต่าง ๆ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น

“เงินเย็น” คือ เงินส่วนที่แยกออกมาจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นเงินที่สามารถเก็บไว้โดยยังไม่มีแผนจะนำไปใช้ทำอะไร เพราะฉะนั้นเงินส่วนนี้จึงเหมาะที่จะนำไปต่อยอดลงทุนเพื่อเป้าหมายเกษียณในอนาคตระยะไกล

 

วิธีการจัดสรร “เงินร้อน” และ “เงินเย็น”
 

1. การจัดสรรเงินร้อน 

เงินร้อนนั้นส่วนใหญ่จะถูกแปลงเป็นรายจ่าย ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร ขอแนะนำให้แบ่งรายจ่ายออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
 

  • รายจ่ายเร่งด่วน

ตัวอย่าง :  หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้นอกระบบ

สัดส่วนที่ควรแบ่งจ่าย : ร้อยละ 30 - 60 ของรายได้ 

เป็นหนี้ที่ต้องจ่ายโดยเร็วที่สุด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก โดยเพดานดอกเบี้ยของบัตรเครดิตคือร้อยละ 18 ส่วนเพดานดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดนั้นสูงถึงร้อยละ 25 สำหรับหนี้นอกระบบนั้น ไม่มีเพดานขั้นต่ำ ขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม การแบ่งรายได้มาจ่ายหนี้ส่วนนี้ในสัดส่วนที่สูงถึง 30-60 ของรายได้นั้น สามารถทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หากรายจ่ายส่วนนี้มากจนเกินที่จะจ่ายไหว โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ แนะนำให้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ หรือติดต่อสายด่วน 1157 ของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฏหมายแก่ประชาชน จะมีคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดคอยช่วยเหลือ ในส่วนของหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดนั้น สามารถเปลี่ยนประเภทหนี้โดยแปลงเป็นสินเชื่อระยะยาว (Term loan) เพื่อจ่ายชำระเป็นงวด
 

  • รายจ่ายประจำ 

ตัวอย่าง : ค่าผ่อนบ้านและรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าอุปการะพ่อแม่

สัดส่วนที่ควรแบ่งจ่าย : ร้อยละ 50-60 ของรายได้

เป็นรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในทุก ๆ เดือน และมักเป็นเงินก้อนใหญ่ ดังนั้น จึงควรจัดการรายจ่ายส่วนนี้ก่อนรายจ่ายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะการชำระล่าช้า อาจเกิดเป็นปัญหาที่ต้องคอยมาแก้ไข และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเสียค่าปรับกรณีถูกตัดไฟ หรือถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัด กรณีที่ค้างชำระค่าผ่อนบ้าน

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรขยายสัดส่วนของรายจ่ายส่วนนี้ให้มากเกินร้อยละ 60 เพราะอาจขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จนทำให้เกิดความเครียด และกระทบกับการเก็บออมเงินเพื่ออนาคตได้
 

  • รายจ่ายในชีวิตประจำวัน 

ตัวอย่าง : ค่าอาหาร ค่าสังสรรค์กับเพื่อน ค่าเสื้อผ้าใหม่ ค่าท่องเที่ยว

สัดส่วนที่ควรแบ่งจ่าย : ร้อยละ 35-40 

รายจ่ายในส่วนนี้ควรบริหารให้ดี โดยเฉพาะสำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่ต้องใช้จ่ายเงินก้อนนี้ยาวติดต่อกันถึง 1 เดือน หากใช้หมดตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก็อาจทำให้ขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายช่วงใกล้เงินเดือนออกได้

 

2. การจัดสรรเงินเย็น

สัดส่วนที่ควรเก็บออม : ร้อยละ 10-20

ในส่วนเงินเย็นนั้น สามารถนำไปจัดสรรได้หลายอย่าง แล้วแต่ความเสี่ยงที่จะสามารถรับได้ โดยควรกระจายความเสี่ยง ไม่ควรซื้อผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งเพียงอย่างเดียว สำหรับผลิตภัณฑ์การเงินที่น่าสนใจ ลงทุนไม่ยากและไม่ซับซ้อน เหมาะกับมือใหม่ เช่น

  • เงินฝากออมทรัพย์ มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง แต่ผลตอบแทนต่ำ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
  • ประกันสะสมทรัพย์ มีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนแตกต่างกันไปตามแต่ละแบบประกัน มีสภาพคล่องต่ำ แต่มีความคุ้มครองชีวิต และลดหย่อนภาษีได้ ทำประกันสะสมทรัพย์ คลิกที่นี่
  • สลากออมทรัพย์ มีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนไม่สูงนัก มีสภาพคล่องต่ำ แต่มีโอกาสลุ้นรับรางวัลได้ทุกงวดจนกว่าสลากจะหมดอายุ
  • กองทุน SSF และ RMF มีความเสี่ยงตั้งแต่ต่ำถึงสูง ขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุน มีสภาพคล่องปานกลาง เพราะสามารถซื้อและขายได้ แต่อาจไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับเงินฝากออมทรัพย์ อย่างไรก็ตามผู้ซื้อกองทุน SSF และ RMF มีโอกาสได้กำไรจากการลงทุน (และขาดทุนด้วยเช่นกัน) รวมถึงเงินปันผลด้วย อีกทั้งยังได้ประโยชน์ในการนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ออมเงินแบบไม่เสี่ยง แต่มีผลตอบแทนกับประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ เมคชัวร์ 10/5 สมัครเลย

  • รับเงินคืนสูง ปีที่ 1-5 ปีละ 4% และปีที่ 6-9 ปีละ 5% 
  • เงินคืนครบกำหนดสัญญา 525%
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท

 

ข้อควรทราบ :

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันภัยให้กรมสรรพากร
  • การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้งเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ