หลังจากที่ศึกษาหลักเกณฑ์การยื่นภาษีกันไปแล้ว ในบทความนี้ ก็ถึงเวลาที่ต้องสำรวจรายได้ของตัวเอง สำหรับคนที่ทำงานประจำ ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการ รายได้สำคัญที่ต้องนำมาคำนวณภาษีคือ “เงินเดือน” นั่นเอง แล้วเงินเดือนต้องสูงขนาดไหน ถึงจะต้องเสียภาษี มาคำนวณไปพร้อม ๆ กันได้ที่บทความนี้เลย
ส่วนใครที่เพิ่งยื่นภาษีออนไลน์ครั้งแรก ยังไม่คุ้นชินกับหน้าตาของเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ดูวิธียื่นภาษีได้ที่บทความ ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ได้ถึงวันไหน พร้อมวิธียื่นภาษี
ยิ่งเงินเดือนสูง ยิ่งต้องเสียภาษีมาก อย่าลืมทำประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 ประกันลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุด ให้เงินคืนไวที่สุด และเงินคืนสูงที่สุดจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต
เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี ?
เหล่ามนุษย์เงินเดือนมักมีคำถามเสมอว่า เงินเดือนเท่าไร ต้องเริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยทั่วไปคนมักเข้าใจผิดกันว่า ผู้ที่มีเงินเดือนรวมทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาทนั้นไม่จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่แท้จริงแล้ว ในกรณีที่โสด หากมีเงินเดือนรวมทั้งปีเกิน 120,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แม้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ตาม
สำหรับการคำนวณภาษีนั้น ต้องนำเงินเดือนรวมทั้งปีมาคำนวณหา “เงินได้สุทธิ” โดยหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาค โดยผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 150,000 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณจาก...
เงินเดือนรวมทั้งปี - [เงินได้ที่ได้รับยกเว้น (ถ้ามี) + ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน + เงินบริจาค] = เงินได้สุทธิ
เมื่อได้ “เงินได้สุทธิแล้ว” ให้นำไปเทียบหา “อัตราภาษี” ในตารางด้านล่าง เพื่อคำนวณหาจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้สุทธิ × อัตราภาษี (5-35%)
เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) | อัตราภาษี |
---|---|
ไม่เกิน 150,000 บาท | ไม่ต้องเสียภาษี |
ตั้งแต่ 150,001 บาท - 300,000 บาท | 5% |
ตั้งแต่ 300,001 บาท - 500,000 บาท | 10% |
ตั้งแต่ 500,001 บาท - 750,000 บาท | 15% |
ตั้งแต่ 750,001 บาท - 1,000,000 บาท | 20% |
ตั้งแต่ 1,000,001 บาท - 2,000,000 บาท | 25% |
ตั้งแต่ 2,000,001 บาท - 5,000,000 บาท | 30% |
ตั้งแต่ 5,000,001 บาท ขึ้นไป | 35% |
ตัวอย่าง
นายโอชิ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 35,000 บาท (ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย) ตั้งแต่เดือนม.ค. - ธ.ค. 2567 โดยมีรายได้แค่ช่องทางเดียว โดยนายโอชิยังโสด แต่ต้องอุปการะมารดาอายุ 62 ปี เนื่องจากมารดาไม่มีเงินได้ นอกจากนั้น นายโอชิยังทำประกันสะสมทรัพย์ โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5 โดยชำระเบี้ยประกันชีวิตปีละ 30,000 บาท และยังบริจาคให้มูลนิธิสงเคราะห์สัตว์จำนวน 1,000 บาทอีกด้วย
นายโอชิจะต้องคำนวณเงินได้สุทธิดังนี้
- เงินเดือน 35,000 × 12 = 420,000 บาท
- ค่าใช้จ่าย 420,000 × 50% = 210,000 แต่กฏหมายกำหนดไว้ให้ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น นายโอชิหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูมารดาที่อายุเกิน 60 ปี จำนวน 30,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต ปีละ 30,000 บาท
- เงินบริจาค 1,000 บาท
เนื่องจากนายโอชิไม่มีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นในปี 2566 จึงไม่ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้สุทธิ
เงินเดือนรวมทั้งปี - [ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน + เงินบริจาค] = เงินได้สุทธิ
420,000 - [100,000 + (60,000 + 30,000 + 30,000) + 1,000] = 199,000
ดังนั้น นายโอชิ มีเงินได้สุทธิทั้งหมด 199,000 บาท จึงต้องเสียภาษี 5% โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วน 150,000 บาทแรก และส่วนที่เหลือ 49,000 บาทต้องเสียภาษีในอัตรา 5% คิดเป็นเงินภาษีทั้งปีเท่ากับ 2,450 บาท
จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นว่านายโอชิเสียภาษีในจำนวนไม่มากนัก จึงชำระได้อย่างไม่ลำบาก ซึ่งหากไม่มีการทำประกันลดหย่อนภาษีเอาไว้ นายโอชิจะต้องเสียภาษีในจำนวนที่สูงกว่า ดังนั้น ทุกคนจึงควรทำประกันลดหย่อนภาษีไว้บ้าง โดยเฉพาะคนที่มีรายได้สูงกว่าตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น
OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต ขอแนะนำประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุด
ลดหย่อนได้สูงสุด 1 แสน และรับเงินคืนสูงทุกปี เพื่อนำไปเป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันปีต่อ
ขอทำประกันลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ออมสบาย 10/5
สำหรับผู้ที่ยื่นแบบฯ เรียบร้อยแล้วพบว่ามีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม สามารถดูช่องทางการจ่ายภาษีแบบออนไลน์ พร้อมวิธีผ่อนจ่ายภาษีได้ที่นี่ และสำหรับผู้ที่ชำระภาษีไว้เกิน และต้องการขอคืนภาษี อย่าลืมอัปโหลดเอกสารที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งสามารถเช็กได้ที่นี่
ข้อควรทราบ :
- โอเชี่ยนไลฟ์ออมสบาย 10/5 เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันไทยสมุทรออมสบาย 10/5
- การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะนำเบี้ยประกันชีวิต ไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้บริษัทฯ นำส่งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิตให้กรมสรรพากร
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยการที่ตัวแทนประกันชีวิตมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นการให้บริการเท่านั้น
- ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
อ้างอิง :