ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

 

สิ่งที่มาพร้อมกับฤดูหนาวของประเทศไทยนั้น ไม่ใช่หิมะเหมือนประเทศอื่น แต่เป็นฝุ่นจิ๋วขนาดเล็กชื่อว่า ฝุ่น PM 2.5 ที่มองเผิน ๆ หน้าตาเหมือนหมอก แต่ส่งผลร้ายกว่าที่คิด วันนี้ OCEAN LIFE ไทยสมุทรจะพาไปทำความรู้จักฝุ่น PM 2.5 ให้มากขึ้น พร้อมตัวอย่างผลกระทบต่อสุขภาพที่เราทุกคนควรเตรียมพร้อมรับมือเอาไว้

 

“รับมือกับ PM 2.5 ด้วยสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 (CI120) ประกัน 120 โรคร้าย ที่คุ้มครองโรคมะเร็งปอด”

สนใจสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 คลิก
 

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร และเกิดจากอะไร

ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม 30 เท่า มีลักษณะครึ้มคล้ายหมอก ฝุ่นชนิดนี้ถูกจัดเป็นมลพิษทางอากาศ เมื่อสภาพอากาศนิ่ง เย็น แห้ง และมีความกดอากาศสูง ระดับของฝุ่น PM 2.5 จะสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ 

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถโดยสารประจำทาง การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรมของโรงงานและโรงไฟฟ้า รวมถึงการเผาในที่โล่งอย่างการเผาหญ้า เผาพื้นที่เกษตรกรรม และเผาขยะ โดยฝุ่นอาจถูกพัดพาไปได้ไกลจากแหล่งต้นกำเนิดหลายกิโลเมตร นอกจากนั้น ฝุ่น PM 2.5 ยังเกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น สูบบุหรี่ จุดธูปไหว้พระ การประกอบอาหาร เป็นต้น

 

10 พื้นที่จาก 9 จังหวัดที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอให้ค่าเฉลี่ยมาตรฐานรายปีของ PM 2.5 ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยมาตรฐาน 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 ไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่วนประเทศไทยนั้น ได้กำหนดค่าเฉลี่ยมาตรฐานสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกเสนอ สำหรับค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) มีมติกำหนดมาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5 ใหม่ โดยปรับเปลี่ยนค่าเฉลี่ยมาตรฐานรายปีเป็น 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

สำหรับ 10 พื้นที่จาก 9 จังหวัดที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นข้อมูลที่อ้างอิงจากค่าเฉลี่ยมาตรฐานของประเทศไทยแบบเก่า โดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 12.00 น.

อันดับ พื้นที่ จังหวัด ค่า AQI ค่า PM 2.5
1 ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ สระบุรี 252 87.6
2 ​ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี 216 90.5
3 ต.ย่านซื่อ อ.เมือง อ่างทอง 216 90.0
4 ​ต.​ในเมือง อ.เมือง อุบลราชธานี 204 78.9
5 ต.ปากน้ำ​ อ.เมือง สมุทรปราการ 204 78.8
6 เขตคลองกุ่ม แขวงบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 204 78.0
7 ริมถนนเลียบวารี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 201 75.4
8 ต.บ้านเหนือ อ.เมือง  กาญจนบุรี​ 198 74.2
9 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี​ 196 73.5
10 ริมถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 95
เขตวังทองหลาง
กรุงเทพมหานคร 192 72.1

 

ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5

นอกจากผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนอย่างทัศนวิสัยที่ลดลงแล้ว ฝุ่น PM 2.5 ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย เพราฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก จนสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไปจนถึงปอดได้ ฝุ่นชนิดนี้จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะสั้นอย่างการระคายเคืองบริเวณคอ จมูก และตา ไปจนถึงทำให้อาการของโรคบางชนิดแย่ลง เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น หากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่มีค่าเฉลี่ยมาตรฐานของ PM 2.5 สูงเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้โอกาสในการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด และโรคหัวใจได้ (สามารถอ่านรายละเอียดของทั้ง 3 โรคร้ายแรงได้ที่นี่)

 

วิธีรับมือฝุ่น PM 2.5

  • ลดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 เช่น การประกอบอาหารประเภทปิ้งย่าง การจุดเทียนหอม เป็นต้น
  • ปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 จากภายนอกเข้ามาในที่พักอาศัย หรืออาคารสำนักงานต่าง ๆ
  • ปลูกต้นไม้บริเวณที่พักอาศัย
  • ตรวจสอบค่าเฉลี่ยมาตรฐาน 24 ชั่วโมงบริเวณที่พักอาศัย หรือพื้นที่ที่ต้องออกไปทำกิจกรรมอยู่เสมอ
  • สวมหน้ากากอนามัยที่สะอาดเมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมภายนอก รวมถึงลดกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ เมื่อค่า PM 2.5 สูงขึ้นจนเกินระดับมาตรฐาน
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดจากฝุ่น PM 2.5 จะได้ปรับสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันได้ทันท่วงที
  • หากจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 เกินค่าเฉลี่ยมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน ๆ สามารถทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดจาก PM 2.5 ได้ เช่น ประกันโอชิ ซีไอ ท็อปทรี เอ็กซ์ตร้า ที่คุ้มครองผู้ป่วยโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย รวมถึงโรคมะเร็งปอดอีกด้วย

 

 

“สนใจสัญญาเพิ่มเติมโอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ ซีไอ 120 คลิก

 

 

ข้อควรทราบ :

  • % หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • การรับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
  • ความคุ้มครองและการจ่ายผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม

ข้อมูลจาก :

Department of Health, New York State
กรมควบคุมมลพิษ
กรมอนามัย

OCEAN CLUB APP ใช้ชีวิตดี๊ดี กับ OCHI COIN

OCEAN CLUB APP #HEALTHIVERSE

ฟีเจอร์ล่าสุด ให้คุณ TOP FORM ด้านสุขภาพ

QR Code Application
ดาวน์โหลดเลย
OCEAN CLUB APP

บอกข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

OCEAN LIFE ไทยสมุทร รับรางวัลการสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืน
ฉันต้องการค้นหาเกี่ยวกับ